ออกแบบบรรจุภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง Packaging Design

advertisements

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง Packaging Design

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

1. Contain ดีหนักหนา
ถ้าไม่ผ่านข้อนี้ ขอบอกเลยว่าอย่าเพิ่งไปนึกถึงข้ออื่น ยกตัวอย่างง่ายๆ สมัยก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) อาหารที่เราเห็นได้ง่าย คือ ใบตองและไม้กลัด จนเทคโนโลยีการผลิตวัสดุต่างๆ เข้ามา เราก็มีวัสดุที่ใส่อาหารได้คงทนขึ้น พูดได้ว่า ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์นั่นแหละ

ทุกวันนี้วัสดุหลักๆ ที่ใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์มีมากมาย ได้แก่ โลหะ แก้ว กระดาษ พลาสติก และ เทอร์โมพลาสติก สินค้าประเภทอาหารควรถูกบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีบริบทเหมาะสม ถ้าเป็นของเหลวก็ไม่หก ไม่รั่วไหลง่าย ถ้าเป็นสินค้าที่ต้องคงความแห้งหรือกรอบก็อากาศ แสง และความชื้นไม่เข้าไปทำร้าย ให้สินค้าชะตาขาดก่อนวันหมดอายุ

ควรคำนึง: ใช้ประโยชน์จากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และเลือกใช้วัสดุเท่าที่จำเป็น จะได้ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรโลก และประหยัดต้นทุนด้วย

2. Protect รักษาของให้มั่น
พูดได้เต็มปากว่า เราฝากชีวิตสินค้าไว้ให้บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ดูแล ข้อนี้จะมีความคาบเกี่ยวกับข้อที่แล้ว ซึ่งหลังบรรจุแล้ว บรรจุภัณฑ์ (Packaging)ก็ต้องรักษาอายุของของข้างใน โดยปกติแล้วจะมี Lab test ทดลองดูก่อนว่า สินค้าจะคงสภาพดีในบรรจุภัณฑ์นี้ได้ถึงระยะเวลาเท่าไหร่ ส่วนวัสดุที่เลือกใช้ก็แล้วแต่กรณีไปว่าสินค้าเป็นอะไร ดังที่กล่าวไว้ในข้อ Contain

ในหน้าที่ของการ Protect ยังแยกบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ออกเป็นอีกสองแบบ คือ
Consumer packaging คือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ที่คนเห็นบนชั้นวางแล้วหยิบกลับบ้าน
Industrial packaging มีไว้เพื่อปกป้อง consumer packaging อีกชั้นหนึ่ง ขณะขนส่งและเก็บรักษา ที่เห็นได้บ่อยคือกล่องลังกระดาษ

โดยรวมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)ต้องคงสภาพของภายในให้ปลอดภัยจากอากาศ ความชื้น แสง และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ป้องกันความเสียหายขณะเคลื่อนย้ายและขนส่ง จนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคนั่นเอง
ปล. ก่อนวางขายต้องมีการทดสอบ Shelf life อย่างจริงจังก่อนนะ และวันหมดอายุที่บอกบนบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ก็ควรเร็วกว่าวันหมดอายุจริงจ้า

3. Convenience ตลอดกาล
ถ้านึกไม่ออกว่าความสะดวกสบายของบรรจุภัณฑ์ (Packaging) คืออะไร? จะขอยกตัวอย่างดังนี้
– ปลากระป๋อง ที่เมื่อก่อนจะต้องใช้อุปกรณ์มาเปิด ก็เปลี่ยนเป็นห่วงดึงบนฝา ไม่ต้องพึ่งที่เปิดอีกต่อไป
-ซอสมะเขือเทศในขวดแก้ว เทออกยาก ก็เปลี่ยนเป็นขวดพลาสติกบีบได้ จนถึงแบบซองใช้ครั้งเดียว
-ถุงขนมขนาดใหญ่ที่ครั้งเดียวกินไม่หมด ก็มีซิปล็อคขึ้นมา

สินค้าที่จะเห็นการพัฒนาความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคมากที่สุด มักจะเป็นสินค้าประเภทถูกหยิบใช้บ่อยๆ อย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้น อย่าลืมว่าหลายครั้งที่แม้แต่เราเอง ยังยอมจ่ายเงินสูงขึ้นเพื่อซื้อความสะดวก คนอื่นๆ ก็เหมือนกัน

ชวนให้คิด: ลองดูว่าบรรจุภัณฑ์ของเราอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคหรือยัง หรือมีแบรนด์อื่นที่ทำได้ดีกว่าเรามั้ย คิดไปคิดมาอาจเกิดนวัตกรรมใหม่ก็ได้นะ

4. Inform นั้น ต้องสื่อสาร

การสื่อสารที่ว่า หมายถึงบอกผู้บริโภคในสิ่งที่อยากให้รู้และต้องรู้ ยิ่งกลุ่มอาหาร ยา และเวชสำอางยิ่งจำเป็น เพราะถ้าไม่มีการแจ้งส่วนประกอบทั้งหมด และส่วนประกอบที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้เอาไว้อย่างชัดเจน อาจเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หรือเกิดการฟ้องร้องกันตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครเลย

บรรจุภัณฑ์ (Packaging) อื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้ ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องสื่อสารนะ ยังต้องบอกอยู่ว่าสินค้านี้คืออะไร? ใช้ยังไง? แตกต่างจากแบรนด์อื่นยังไง? โดยรวมต้องไม่คลุมเครือ ให้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ชัดเจน แต่ไม่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลที่แบรนด์อยากให้ แต่ผู้บริโภคไม่อยากรู้

ถ้าข้อมูลที่อยากจะบอกมันเยอะจริงๆ ทำแบรนด์ให้แข็งแรง คนที่สนใจแบรนด์ของเรา จะไปหาทางทำความรู้จักกับแบรนด์บนโลกออนไลน์เองแหละ
Tip: นี่เป็นยุคที่คนใช้เวลาจดจ่อกับสิ่งต่างๆ สั้นลง ขอแนะนำให้ทำความรู้จักกับเทรนด์ Label Transparency ที่พูดน้อยต่อยหนัก ฮุคผู้บริโภคกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารได้เร็วๆ เต็มๆ

5. งาน Sale เอาอยู่

พอสินค้าไปตั้งอยู่บนเชลฟ์แล้วบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ผู้เป็นหน้าเป็นตาของแบรนด์ ทำหน้าที่เป็นพนักงานขายโดยอัตโนมัติ และการเป็นพนักงานขายที่ดี ก็ควรจะปิดการขายสำเร็จ ดูมีบุคลิกที่น่าซื้อ น่าเข้าหา แค่คนเห็นบนเชลฟ์หรือจากรูป ก็ต้องรู้สึกว่าถูกดึงดูด แม้ยังไม่อยากได้สินค้าก็จะต้องรู้สึกอยากทำความรู้จัก

ลองเริ่มสังเกตจากตัวเองดูก็ได้ ว่าเราเห็น บรรจุภัณฑ์ (Packaging) อันไหนเห็นแล้วว้าว อยากซื้อเลย อันไหนรู้สึกเฉยๆ

หลายคนซื้อของเพราะโดนบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ล่อลวงนะจะบอกให้ พอปิดการขายสำเร็จ แล้วของข้างในใช้ดีด้วย คนก็ซื้อซ้ำ กลายเป็นลูกค้าประจำ แค่เพราะชอบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ในตอนแรกเท่านั้นเอง
Insight น่ารู้: ยิ่งเป็นแบรนด์เล็กๆ ยิ่งควรทำข้อนี้ เพราะคนยังไม่ได้รู้จักเรามาก อาศัยความหน้าตาดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

6. ความเป็น Brand ชัดตลอดกาล

สำคัญที่สุดคือข้อนี้ จะมีประโยชน์อะไรถ้ามีทุกข้ออื่น แต่คนจำไม่ได้ว่าแบรนด์นี้มีอะไรดี แตกต่างตรงไหน? คราวหน้าซื้อยี่ห้ออื่นก็เหมือนกันใช่มั้ย? ความเป็นแบรนด์ต้องชัด สร้างการจดจำ และมีความต่อเนื่องทางการออกแบบ สีเอย กลิ่นอายเอย แนวทางความเชื่อของแบรนด์เอย สิ่งเหล่านี้จะต้องคงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเปลี่ยนหีบห่อไปกี่ครั้ง หรือออกสินค้าใหม่สักกี่รุ่นก็ตาม

ตามผู้ใหญ่มาหมาไม่กัด: ลองสังเกตตัวอย่างจากแบรนด์ใหญ่ๆ ระดับโลกก็ได้ ไม่ใช่แปะโลโก้ก็จบ ตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จะมีความต่อเนื่อง เป็นครอบครัวเดียวกันอย่างเห็นได้ชัด (Brand Consistency)

7 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ Packaging ที่น่าจับตามองของปี 2018 … อะไรจะปัง อะไรจะไป มาดูกันเลยค่ะ!

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, Packaging Design,ออกแบบหีบห่อ

  1. Design for Online

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการซื้อขายออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และแย่งส่วนแบ่งตลาดร้านค้าปลีกไปไม่น้อย สิ่งที่แบรนด์ออนไลน์มักจะพลาดไปเกิดจากสองสาเหตุ

1.1. เข้าใจว่าสินค้าไม่ต้องวางบนเชลฟ์แข่งกับใครแล้ว บรรจุภัณฑ์ (Packaging) แค่ห่อของได้ก็พอ

1.2. ส่งแล้วก็จบกัน

ที่บอกว่าพลาด เพราะโอกาสของสินค้าออนไลน์นั้น เกิดขึ้น ณ เวลาที่ลูกค้าแกะกล่องออกมา แบรนด์จำเป็นต้องดีไซน์ประสบการณ์เมื่อแกะหีบห่อ ลูกค้าจะประทับใจแบรนด์สุดๆ ได้แค่ไหน มันอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทักทายด้วยหีบห่อด้านนอก เขียนชื่อเขา หรือพูดคุยกับเขา กลไกการเปิด จนถึงความพิถีพิถันของบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

สิ่งเหล่านี้จะทำให้แบรนด์แตกต่าง ทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ และสร้างความประทับใจเหมือนเป็นรักแรกพบ

2. Center Store Refresh

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

advertisements

มาดูฝั่งค้าปลีกกันบ้าง พอคนเดินห้างน้อยลง รายได้ก็ลดลง เราจะได้เห็นการงัดทุกกลเม็ดเพื่อดึงดูดให้คนไปจับจ่ายที่ห้างถี่ขึ้นเรื่อยๆ

ฝั่งอเมริกาได้วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคแล้วพบว่า คนสมัยนี้จะเดินเฉพาะโซนที่ตนต้องการไปซื้อของ เป็นที่มาของเทรนด์ที่สองนี้ นั่นก็คือ การปรับผังร้านค้าใหม่ เพื่อสู้กับพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น จากปกติจะตรงดิ่งเข้าไปโซนของแห้งเลย ไม่ผ่านตู้แช่แข็งและของสด พอห้างปรับผังใหม่ จะต้องเดินผ่านตู้แช่แข็งและโซนของสดก่อนที่จะไปถึงโซนของแห้ง เป็นต้น

เทรนด์นี้จึงต้องการการสนับสนุนของบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มากอยู่ เพราะพอห้างสร้างโอกาสให้คนเดินผ่านโซนอื่นๆ ตัวบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เองก็ต้องพยายามมากขึ้น ต้องน่าสนใจพอจะหยุดผู้บริโภค ไม่ว่าจะด้วยดิสเพลย์พิเศษ หรือรูปลักษณ์แปลกตาจากแบรนด์อื่นบนชั้นวางเดียวกันก็ตาม และในขณะที่ทำงานเรียกลูกค้าใหม่ ก็ต้องเก็บลูกค้าเก่าและเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ให้ได้ด้วย

3. Reusability

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

หมดยุคของการใช้วัสดุฟุ่มเฟือย เพื่อความหรูหราของสินค้าแล้ว เทรนด์นี้มาเพื่อลดต้นทุนค่าวัสดุให้ผู้ผลิต และตรงใจผู้บริโภคที่ชอบการคิดมาเผื่อของแบรนด์

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่แทบทุกหน่วยงานระดับนานาชาติร่วมมือกันหาทางออก หลายแบรนด์เริ่มมีส่วนร่วมในการปรับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์  (Packaging Design)ที่นำมาใช้ซ้ำได้ เช่น ถุงกึ่งกล่องรองเท้าของพูม่า ที่ลดการใช้กระดาษลังได้ถึง 65% และให้ส่วนสำคัญเป็นผ้าแทน พอเอากระดาษออกไปแล้ว ก็กลายเป็นถุงผ้า

หัวใจสำคัญของเทรนด์นี้คือ การทำให้บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ไม่กลายเป็นขยะ แต่กลายเป็นสิ่งอื่นที่เกิดประโยชน์แทน

4. Smart & Intelligent

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

เหตุเกิดจากที่โลกนี้มีขยะอาหาร (food waste) มากถึง 40% ของอาหารที่ถูกผลิตออกมา ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากอาหารหมดอายุค้างอยู่ในตู้เย็นหรือตู้เก็บอาหาร รู้ตัวอีกที อ้าว ต้องทิ้งเสียแล้วจึงมีการร่วมกันกู้โลกโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาผสมผสานกับบรรจุภัณฑ์ เกิดเป็นฟังชันก์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา

ในเมืองไทยอาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่ในหลายประเทศเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ที่มี ripeSense sensor กับของสดแล้ว ซึ่งน่าสนใจมาก ที่ตัวห่อสามารถบอกได้ว่าผลไม้นี้สุกระดับไหนแล้ว หรือเนื้อชิ้นนี้ใกล้หมดอายุหรือยัง ด้วยแถบสีที่เห็นได้ชัดเจน และมีคำอธิบายว่าแต่ละสีหมายถึงสถานะไหนของอาหารชิ้นนั้น เรียกว่าเห็นปุ๊บรู้ปั๊บ ไม่ต้องไปนั่งเล็งวันหมดอายุซึ่งรู้ไปเดี๋ยวก็ลืมได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภคและพนักงานขาย จะรู้ได้ทันทีว่าสินค้านี้ยังดีอยู่ไหม หรือควรรีบกินไม่งั้นจะเสีย ซึ่งดีต่อสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยลดการเกิดขยะอาหาร (food waste) ได้เต็มๆ

5. Label Transparency

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

เดี๋ยวนี้คนจดจ่ออยู่กับสื่อต่างๆ สั้นลง และสั้นลงเรื่อยๆ การรับรู้ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ก็โดนผลกระทบนี้ด้วยเหมือนกัน

เทรนด์การใส่ข้อมูลลงบนบรรจุภัณฑ์กำลังมุ่งหน้าไปสู่การ ใส่ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่หมกเม็ด เท่าที่จำเป็น และเพียงพอต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเคลมเยอะเล่าแยะ เพราะตอนนี้ข้อมูลในโลกล้นทะลักผู้บริโภคจนท่วมแล้ว แถมยังมีงานวิจัยออกมารองรับแล้วด้วยว่า ผู้บริโภคฝรั่งเศส 39% จะรู้สึกว่าอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีข้อมูลบนแพ็คเยอะๆ ดูไม่น่าไว้ใจ เอ้า… เป็นงั้นไป

ที่จริงเทรนด์นี้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้วนะ เน้นทำตัวหนังสือให้ชัดเจนและน้อยที่สุด ข้อดีคือ พูดจุดสำคัญที่อยากบอกกับผู้บริโภคปุ๊บ สารถูกรับปั๊บ ไม่ต้องคลุมเครือ ให้ไปตามหาหลังกล่องว่า สินค้านี้คืออะไร ต่างจากแบรนด์อื่นตรงไหน ดูใสๆ จริงใจ และเห็นตัวสินค้าชัดเจน

6. Saving the Sea

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

รู้ไหมว่า ประเทศไทยมีขยะทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก ยอดรวมขยะปี 2016 คือ 27 ล้านตัน กำจัดอย่างไม่ถูกต้อง 11.69 ล้านตัน ไหลลงสู่แหล่งน้ำ 10 ล้านตัน มีความเป็นไปได้สูงมากที่ปี 2050 จะมีขยะทะเลมากกว่าสัตว์น้ำ ส่วนขยะทะเลทั้งหมดของโลกนั้น ว่ากันว่าต้องใช้เวลาเก็บกันมากกว่าพันปีเลยทีเดียว

เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของทุกคนบนโลก ทางด้านการทำบรรจุภัณฑ์ เราสามารถลดการสร้างพลาสติกได้ไหม? เลือกใช้วัสดุรีไซเคิลได้ไหม? วัสดุที่ใช้ผลิตดีต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวไหม?

หลายแบรนด์เริ่มนำขยะทางทะเลมารีไซเคิลแล้ว และได้รับการตอบรับที่ดีมาก เป็นตัวอย่างให้แบรนด์อื่นๆ เห็นว่า ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะช่วยกันลดขยะทางทะเล โดยยังคงความเป็นแบรนด์ไว้ได้ไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่คำนึงถึงเพื่อนร่วมโลกสายพันธุ์อื่น ไม่ด้อยไปกว่าความพึงพอใจของผู้บริโภคเท่านั้นเอง

7. Personalization

ออกแบบบรรจุภัณฑ์, ออกแบบแพ็กเกจจิ้ง, ออกแบบแพคเกจจิ้ง, Packaging Design, ออกแบบหีบห่อ

ถ้าให้พูดถึงเทรนด์ที่มาแรงที่สุดของปี 2017 คงไม่พ้น Personalization เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างประสบการณ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์โดยตรง และประสบความสำเร็จมาก (ขอย้ำ ประสบความสำเร็จมาก) ใครจะไม่รู้สึกดี หากเราสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวของแบรนด์ที่เรารู้จักได้ โดยที่ไม่ยากหรือซับซ้อนเกินไป และความรู้สึกนี้สามารถแชร์ต่อได้ กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับสนใจจากแบรนด์ และเป็นคนสำคัญ หรือหากไม่เคยสนใจแบรนด์เลย ก็จะรู้จักมากขึ้นเพราะกระแสโซเชียล

แต่การจะใช้เทรนด์นี้ได้ แบรนด์ต้องมีฐานแน่น เป็นที่รู้จักมาก มีการวางแผนเป็นอย่างดี และมีทุนมากพอที่จะทำกิจกรรมนี้ขึ้นมา และมีผู้เข้าร่วมมากพอให้เกิดการพูดถึงในวงกว้าง
………………..

จากเทรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ปีหน้าเราก็จะเห็นงานดีๆ จากทั่วโลกออกมาอีก ส่วนผู้ประกอบการไทยเองก็สามารถสร้างงานที่น่าตื่นเต้นออกมาได้ไม่แพ้ต่างชาติด้วยเหมือนกันนะ ถ้าคุณสนใจงานดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็น Packaging หรือ Brand Design ติดตามอัพเดทจาก YindeeDesign ได้ มีเรื่องที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการและนักออกแบบไทยอีกเยอะเลยค่ะ

ที่มา https://www.facebook.com/yindeedesign/posts/1616093191781516
https://www.facebook.com/yindeedesign/posts/1599021143488721