วิธีสอนเด็กวาดภาพ, ศิลปะสำหรับเด็ก

advertisements

จะสอนเด็กให้วาดภาพได้อย่างไร?

วิธีสอนเด็กวาดภาพ, ศิลปะสำหรับเด็ก

โดย มาวิน บาร์เทล จากบทความ How to teach children drawing

บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากแม่ของเด็กชาย 8 ขวบชาวออสเตเรียนท่านหนึ่ง ซึ่งรู้สึกว่าลูกของเธอไม่มีการพัฒนาและอยากจะช่วยให้วาดภาพได้ดีขึ้น เธอต้องการทราบวิธีที่จะช่วยให้ลูกเธอวาดภาพได้ดีขึ้น การวาดภาพจากการสังเกตคือวิธีการนึงที่จะช่วยได้ แน่นอนว่าการวาดภาพจากการสังเกตไม่ใช่วิธีที่ดีวิธีเดียวในการฝึกการวาดภาพ แต่มันก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะการวาดภาพ การวาดภาพจากความทรงจำ ประสบการณ์และการวาดภาพจากจินตนาการ ล้วนเป็นวิธีการที่ดีในการพัฒนาการคิดด้านต่างๆ การวาดภาพจากการลอกแบบไม่ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ ยกเว้นในกรณีที่เป็นการเรียนรู้การลอกแบบด้วยตนเองที่ให้เพียงความอดทน ศิลปินที่เรียนรู้ด้วยตนเองหลายคน ได้เรียนรู้จากการลอกแบบ (copy) เพราะมันเป็นสิ่งเดียวที่พวกเขารู้ อย่างไรก็ตาม การลอกแบบผลงานศิลปินอื่น ไม่ใช่วิธีที่ดีในการเรียนรู้การวาดภาพวัตถุ สัตว์ ทิวทัศน์และผู้คนได้อย่างแท้จริง

เด็กกับการวาดภาพ

เด็กที่รู้จักผู้เขียนมักจะถามถึงวิธีการในการวาดภาพที่ดีขึ้น เด็กหลายคนไม่ทราบว่าศิลปินจะต้องเรียนรู้การวาดจากฝึกฝนการวาดจากการสังเกต พวกเขามักคาดเอาเองว่ามีเพียงบางคนที่เท่านั้นที่จะวาดภาพได้ แน่นอนว่ามันถูกต้อง แต่ถูกแค่เพียงว่าแทบทุกคนสามารถเรียนวาดภาพได้ในทุกๆ วัย เด็กหลายๆ คนรู้สึกว่าตนเองด้อยความสามารถด้านการวาดภาพ แล้วก็บ่อยครั้งมากที่ครูเองและผู้ใหญ่ก็ไม่เคยที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การสังเกตที่ถูกต้อง เหมาะสม ครูหลายคนไม่ได้รับการอบรมด้านการวาดภาพมากก่อน ครูทั่วไปหลายๆ ท่านมักพูดว่า “มัน OK ครูเองก็วาดไม่ได้เหมือนกัน” ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับการกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้ พวกเขาไม่เคยที่จะกล้ากล่าวว่า” มัน OK ครูก็อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ครูก็ไม่มีพรสวรรค์ด้านนี้เหมือนกัน”

ผู้เขียนอธิบายว่าความสามารถด้านการวาดภาพมาจากการฝึกฝน เมื่อมันเป็นการฝึกฝน ดังนั้นมันก็ไม่น่ากังวลในผลผลิตสุดท้าย บทความนี้จะอธิบายวิธีการฝึกบางอย่างในการทำให้มีทักษะการวาดภาพที่ดีขึ้น บางครั้งเด็กอยากที่จะพัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น ประณีตขึ้น ครูควรส่งเสริมความปารถนาในการทำผลงานต่างๆ ให้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันในการฝึกฝนต่าง ๆ ให้ความเชื่อมั่นพวกเขาว่าเราจำเป็นต้องฝึกฝนมากแต่ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์เสมอไปในระหว่างการฝึก ซึ่งเราอาจจะอธิบายเปรียบเทียบกับดนตรี เราฝึกเปียโนเป็นเวลานานเพื่อเล่นเพลงบางท่อนให้ได้ เราไม่ต้องกังวลกับข้อผิดพลาดต่างๆ ในระหว่างการฝึก แต่ในที่สุดแล้วการเล่นทั้งเพลงได้อย่างสมบูรณ์ในตอนท้ายคือสิ่งที่เราต้องทำให้สำเร็จ

เราไม่ควรแสดงวิธีการวาดภาพสิ่งต่างๆ ให้เด็กดู

ถ้าเราแสดงว่าวัตถุสิ่งของต่างๆ ถูกวาดได้อย่างไร เด็กจะเข้าใจว่าภาพที่เราวาดคือคำตอบสุดท้าย เด็กๆ จะคิดว่างานของเค้าคือการลอกแบบภาพวาดของเรา ซึ่งมันแย่มากๆ ในการเรียนรู้การมองสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ครูควรจะข้ามขั้นตอนต่างๆ ไปเน้นที่การมองวัตถุ ไล่นิ้วมือตามเส้นขอบของวัตถุ ระหว่างนั้น ครูกระตุ้นให้เด็กวาดภาพในอากาศ เพื่อเป็นการฝึกในขั้นต้นในการวาดตามเส้นขอบที่เดินตามนิ้วที่ไต่วัตถุไป อย่างช้าๆ หลังจาการฝึกในอากาศ ให้เด็กฝึกวาดเส้นบนกระดาษอย่างช้าๆ และให้รายละเอียดโดยที่ตาไม่มองกระดาษ

ครูไม่ควรวาดลงบนงานของเด็ก การเรียนรู้การมองเกิดได้จากการฝึกมองกับวัตถุ สัตว์ หรือบุคคล ไม่ใช่ให้ครูมาแก้ไขงานของเด็ก เด็กควรเป็นผู้ปฏิบัติงานจนสำเร็จด้วยตนเองทั้งหมด ครูไม่ควรให้เด็กลอกแบบงานภาพวาดของคนอื่นหรือแม้แต่ครูเอง หรือจากภาพถ่าย เราควรให้เด็กฝึกจากของจริง ถ้าเรารู้ว่าเด็กลอกแบบงานคนอื่นเอง ครูก็ไม่ควรตำหนิเด็ก แต่จะไม่ชมเชยและระงับการกระตุ้นหรือส่งเสริมใดๆ ที่เกี่ยวกับผลงานชิ้นนั้น ครูควรแนะนำให้เด็กดูจากวัตถุของจริง และไม่ควรทำงานจากภาพวาด

การหาความจริง

เราจะไม่สามารถวาดภาพสิ่งใด ถ้าปราศจากการสำรวจและสังเกตสิ่งนั้น ในตอนแรกครูควรใช้เวลาในการอภิปราย พูดเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กๆ ของสิ่งที่เด็กกำลังจะเริ่มวาด เป็นการเน้นการมอง ให้คุ้นเคยสิ่งที่จะวาดและทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น

ครูควรสอนการสังเกตวัตถุต่างๆ ด้วยคำถามปลายเปิดให้เด็กคิดหาคำตอบ ไม่ใช่การชี้นำหรือบอกเด็กทั้งหมด เช่น ขอบตรงนี้มันตรงมากมั้ย หรือมันโค้งยังไง? ด้านข้างของตรงนี้กับด้านขอบบนยาวต่างกันอย่างไร? ความยาวของวัตถุที่เราวัดตอนที่ยืดแขนตรงไปข้างหน้าแล้วใช้ดินสอวัดเป็นอย่างไร? เปรียบเทียบความยาวแล้วเป็นไงบ้าง? ตรงนี้เป็นเส้นตรงง่ายๆ หรือมันคดเคี้ยวอย่างไร? ถ้าเราใช้คำถามบ่อยๆ จนเด็กเคยชิน ครูจะไม่จำเป็นต้องมาตั้งคำถามอีกในอนาคต เด็กจะเริ่มเรียนรู้การตั้งคำถามด้วยตนเอง แล้วเค้าจะสามารถฝึกฝนการสังเกตและการวาดภาพได้เอง ถ้าเรามัวมาบอกหรือชี้แนะทุกอย่าง เด็กจะไม่เกิดการพัฒนาและไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง บางครั้งเราสามารถ เริ่มงานจากส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งของที่ดูซับซ้อน ค่อยๆ เพิ่มความซับซ้อน ความละเอียดเข้าไปทีละนิด แล้วการวาดจะค่อยๆ พัฒนาการวาดเส้น Blind Contour (การวาดเส้นขอบของวัตถุโดยไม่มองกระดาษ) ควรให้เด็กรับรู้ว่า เราไม่คาดหวังให้ปลายเส้นทั้งสองมาบรรจบกันได้ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ถ้าทำได้ มันหมายความว่าเด็กต้องแอบมองกระดาษ (พูดแบบเล่นๆ ) Blind contour drawing หมายความว่า การวาดภาพโดยไม่มองกระดาษ แต่มองเพียงวัตถุที่กำลังวาดเท่านั้น

advertisements

ที่บังตาเป็นผู้ช่วยในการวาดภาพ

ครูสามารถใช้ที่บังตาที่วางบนมือที่ถือดินสอ ทำให้เราไม่สามารถมองสิ่งที่เรากำลังวาดลงไป บางครั้งเมื่อตอนดินสอหยุดนิ่งเราสามารถมองที่กระดาษได้ แต่ตอนที่ดินสอเคลื่อนไหว ไม่อนุญาตให้มองกระดาษ แต่ให้มองวัตถุที่วาด เป็นการดีมากที่จะเคลื่อนที่ดินสออย่างช้าๆ และระมัดระวัง ในทุกๆ การเปลี่ยนทิศทาง รอยต่อต่างๆ ลักษณะของเส้นต่างๆ จากที่สังเกตเห็น ให้ถ่ายทอดลงไปให้มากที่สุด ทั้งลักษณะ ทิศทาง และระยะทาง แต่ไม่ใช้การวาดภาพทุกแบบต้องฝึกด้วย blind contour แต่มันเป็นเพียงการฝึกขั้นต้นในการสร้างนิสัยและพัฒนาทักษะการสังเกตสำหรับเด็กเล็ก ครูควรกระตุ้นให้ใช้กระดาษบังที่มือในขณะฝึก ทุกเส้นให้เด็กรับรู้ว่าไม่ต้องกังวลว่าจะต้องได้ภาพของสิ่งใด ขั้นตอนการฝึกฝนนี้เป็นการเตรียมตัวเองก่อนการวาดภาพจริงในงานอีกชิ้นหนึ่งช่องมองภาพเป็นผู้ช่วยในการจัดภาพช่องมองภาพ ทำได้จากกระดาษเจาะรูขนาด 2X2 นิ้ว ใช้ในการมองภาพต่างๆ ในการวาดภาพ ช่องมองภาพอาจทำจากกระดาษแข็งขนาด 8X10 นิ้ว เจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าตรงกลางคล้ายช่องหน้าต่างขนาด 3X4 นิ้ว

วิธีสอนเด็กวาดภาพ, ศิลปะสำหรับเด็ก
ช่องมองภาพสามารถใช้ร่วมกับขาตั้งภาพหรือขายึดเพื่อช่วยให้เด็กสามารถเลือก สิ่งที่จะวาด เราใช้เหมือนกับตอนที่เราใช้กล้องถ่ายรูปเลือกมุมต่างๆ ก่อนการถ่ายภาพ ซึ่งสามารถเลื่อนให้ใกล้เข้า เพื่อให้ได้ภาพมุมใกล้ หรือเลื่อนให้ไกลออกเพื่อภาพมุมไกล ช่องในกระดาษแข็ง ช่วยให้เด็กเลือกว่าจะวาดอะไร จะจัดองค์ประกอบสิ่งต่างๆ อย่างไร และจะวาดสิ่งเหล่านั้นขนาดใหญ่เท่าไหร่ ช่องมองภาพที่ช่วยมากขึ้นอาจมีแผ่นใสที่มีตารางเส้นในช่องมองภาพ เพื่อช่วยการมองสิ่งต่างๆ และสังเกตสิ่งต่างๆ โดยใช้เส้นตารางเป็นตัวช่วยเปรียบเทียบ

ข้อผิดพลาด

พวกเราหลายคนต้องทำความคุ้นเคยกับข้อผิดพลาดให้มากขึ้น เราไม่ควรกังวลใจกับข้อผิดพลาดเพราะ มันไม่ช่วยอะไรได้ มันจะดีกว่าถ้าเราไปสนใจสิ่งที่ดีๆ อย่างไรก็ตาม เด็กมักจะสังเกตเห็นข้อผิดพลาดของตนเอง เราเชื่อว่ามันจะดีกว่าถ้าให้เด็กเรียนรู้ว่าข้อผิดพลาดในงานของเขามี ประโยชน์ในการเรียนรู้และให้ไอเดียอะไรใหม่ๆ ครูควรบอกเด็กว่ามันทำได้ถ้าเราจะลบและแก้ไขข้อผิดพลาดที่ใหญ่ๆ แต่ครูควรอธิบายด้วยว่า เราควรที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากข้อผิดพลาดของเราเอง ครูควรย้ำกับเด็กว่าบ่อยครั้งที่ครูเองก็ปล่อยการวาดที่พลาดของเราเอาไว้แก่ ไขตอนวาดทั้งภาพใกล้เสร็จในตอนท้าย ครูค่อยๆ ต่อเติมภาพให้สมบูรณ์ขึ้นทีละนิดจนภาพรวมทั้งหมดแก้ไขได้ บางครั้งความผิดพลาดทำให้เกิดความท้าทายและบ่อยครั้งให้ไอเดียที่สร้างสรรค์ ที่เราไม่อาจะจะเจอได้ถ้าไม่ทำผิด เมื่อเรากำลังเผชิญกับข้อผิดพลาดให้คิดว่าเหมือนกับการเล่นเกมส์ เราสามารถเรียนรู้มันได้อย่างสนุกสนาน ซึ่งนอกจากเป็นการสอนการวาดภาพยังเป็นการสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับ ข้อผิดพลาดของตนเองด้วย

การตอบสนอง

เมื่อมีผลงานที่ดีๆ ครูจะกระตือรือร้นในการชื่นชมถึงพัฒนาการและความสำเร็จ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่มักจะหยุดวาดภาพ ถ้าพวกเขาได้รับการวิจารณ์ด้านลบหรือได้รับการแนะนำให้แก้ไขงานในบางส่วน การฝึกฝนและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับความพึงพอใจเท่านั้น ครูมองถึงการพัฒนา ไม่ใช่การปกป้อง ครูควรใช้การวิจารณ์เชิงบวกและคำถามที่กระตุ้นให้เด็กสังเกตดู แต่ไม่ใช่การตัดสิน แทนการตัดสินครูควรที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความคิดของเด็ก ในขณะที่เราตั้งคำถามให้เด็กเกิดการพิจารณางานของเขามากขึ้น มันจะช่วยให้ครูเข้าใจว่าเด็กได้รับรู้ในสิ่งที่เขาสังเกตเห็นอย่างไร ด้วยคำถามที่เกี่ยวกับการสังเกตครูสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปสู่ความสามารถในระดับที่สูงขึ้น ความกลัวภาพทำให้การวาดภาพสิ่งต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง ไม่ว่าเด็กจะวาดวัตถุที่มีขนาดเท่าไร แต่ครูควรกระตุ้นให้เด็กมอง เพื่อให้เด็กสามารถวาดของชิ้นเล็กๆ ให้ใหญ่ รองเท้าเด็กอาจจะถูกวาดให้มีขนาดใหญ่พอสำหรับคนตัวใหญ่ๆ ซึ่งครูอาจจะพูดว่า “ เราน่าจะเขียนสิ่งนี้ขนาดเท่าใดจึงจะพอดีกับกระดาษที่เรามี?” หรือ “ เราต้องวาดใหญ่เท่าใดเพื่อที่จะเหมาะกับพื้นที่เท่านี้?”

ขั้นสูงต่อไป น้ำหนักของภาพ

จากการวาดเส้นขอบ เราสามารถให้วาดเงา เมื่อเราเริ่มขั้นตอนนี้ให้แน่ใจว่าแสงเงาที่มีชัดเจน ครูอาจจะสั่งให้เด็กมองหาระดับของแสงเงาที่หลากหลายในวัตถุที่กำลังจะวาด ให้เด็กแยกแยะบริเวณของแสงแล้วให้ชื่อว่า “highlights” ซึ่งเป็นบริเวณที่สว่างที่สุดและมักจะมีค่อนข้างขาว แล้วให้เด็กมองหาบริเวณที่มืดที่สุด ซึ่งมักจะอยู่ในบริเวณของเงาที่ฐานของวัตถุ

www.goshen.edu/art/ed/shading.html

เพื่อให้เกิดความหลากหลายและสนุกขึ้น บางครั้งอาจจะให้เด็กเริ่มวาดเส้นขอบจากดินสอที่มีระดับความเข้มอ่อนๆ แล้วให้สร้างน้ำหนักด้วยระนาบของจุดจากปากกาสี ที่มีการผสมกันของหลายสี เมื่อสีแห้งเราก็ลบรอยดินสอออกให้เหลือแต่จุดของสี การจุดเป็นการสร้างภาพอย่างง่ายๆ ถ้าเด็กมีโอกาสฝึกร่วมกับการใช้สีหลายๆ สี ให้เกิดจุดสีที่ใกล้กันในการสร้างน้ำหนักเข้มและอ่อนที่หลากหลาย

ที่มา www.bloggang.com/viewblog.php?id=pjan&date=26-12-2009&group=15&gblog=7

แหล่งข้อมูลอื่นๆ