learningstudio.info

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

advertisements

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอนที่ 1

วันที่ 27 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่
จัดการ โดย ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล
ถอดความโดย แม่จิ๊บ

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

หากมีคนถามว่า ทำไมเด็กคนหนึ่งถึงไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง? เพราะบันได 7 ขั้น

เด็กที่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองตามบันได 7 ขั้น และทำบันไดในแต่ละขั้นให้สมบูรณ์ ย่อมมีโอกาสจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า

บันได 7 ขั้น มีดังนี้

1. 0-1 ขวบ แม่มีจริง Object Constancy:

ในช่วง 1 ขวบแรกของชีวิต แม่มอบความรัก อุ้มมาก ดูแลมากพอ แม่ก็จะมีจริง ประทับลงลึกถึงจิตใต้สำนึกของเด็ก แม้เมื่อเด็กโตขึ้น และแม่ไม่อยู่ด้วยกัน แต่แม่ก็ยังมีจริงในใจเสมอ

2. 1-3 ขวบ สายสัมพันธ์ Attachment:

1-3 ปีแรกของชีวิต ลูกจะยังไม่แยกตัวออกจากแม่โดยสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลาที่จะพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่สื่อด้วยใจ ผ่านการเลี้ยงดู ให้เวลาดูแล กอดหอม อุ้ม เล่น มากพอ เด็กก็พร้อมที่จะสร้างตัวตนของตัวเองขึ้นมา เมื่ออายุ 2 ½ – 3 ขวบ จะเกิดกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่ (ดังนั้น การแยกกับแม่ก่อน 3 ขวบ ทำให้เกิดแผลทางใจ)

3. 3 ขวบ ตัวตน Self:

เข้าสู่ขวบปีที่ 3 เด็กจะแยกออกจากแม่โดยสมบูรณ์ แต่มีสายสัมพันธ์ที่สร้างไว้ในขั้นที่ 2 ผูกโยงจิตใจไว้ เป็นวัยที่เริ่ม “หนูทำได้ และหนูจะทำเอง” คือ autonomy & initiation ส่งเสริมขั้นนี้ด้วยการ ปล่อยให้ทำเอง ลองผิดลองถูกและเฝ้าดู

4. 3- 5 ขวบ เซลฟ์เอสตีม Self-Esteem:

ช่วง 3-5 ขวบ เด็กปีนบันไดทีละขั้น ทีละขั้น แล้วจะทำสำเร็จครบทุกขั้น งานบางอย่างจึงอาจต้องซอยงานให้ละเอียด เพื่อให้เด็กเข้าใจและทำสำเร็จได้ทีละขั้น เช่น ถูบ้าน ต้องเริ่มจากขั้นแรก เปิดน้ำใส่ถัง ไม้จุ่มน้ำ ถูลงพื้น ล้างไม้ บิดตาก ทำให้สำเร็จเป็นขั้นๆ สะสมความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองทำทุกวัน และได้รับความชื่นชมที่การกระทำที่สำเร็จนั้นทุกๆ วัน จนเกิดเป็น self-esteem ปริมาณเวลาที่เราได้อยู่กับลูกสำคัญกว่าคุณภาพ เพราะเราจะมีเวลามากขึ้น มองเห็นลูกชัดขึ้น ใจเย็นขึ้น รำคาญลูกยากขึ้น ชื่นชมลูกง่ายขึ้น

5. 5– 6 ขวบ ควบคุมตนเอง Self Control:

3-6 ขวบ มีความสามารถทำงาน หรือกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบหรืออาจจะไม่ชื่นชอบจนสำเร็จ โดยไม่ถูกชักจูงไปทำอย่างอื่นจากสิ่งยั่วยุที่เข้ามา

6. 2-7 ขวบ Executive Function (EF):

เป็นบันไดที่สำคัญที่ควรสร้างให้ได้ ภายใน 7 ปีแรก ของชีวิต (เริ่มได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ) เพราะเด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้มี Executive Function (EF) ที่ดี จะมีโอกาสที่จะประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้

**** Executive Function (EF) คืออะไร?

7. 7-21 ปี ทักษะศตวรรษที่ 21 (21st CSK):

เมื่อเด็กผ่านบันไดทั้ง 6 ขั้น ใน 7 ปีแรก มี Executive Function (EF) มี self-esteem ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นบันไดขั้นต่อไป เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากยุคของพ่อแม่โดยสิ้นเชิง

หมายเหตุ: ตัวเลขอายุเหลื่อมกันได้ แบ่งเป็นชั้นเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในความเป็นจริงพัฒนาการทุกด้านเกิดตามลำดับในเวลาไล่เลี่ยกันแล้วเดินหน้าพร้อมกันด้วยความเร็วและความเร่งต่างกัน

ที่มา www.facebook.com/prasertpp/posts/507873126227853

_________

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอนที่ 2

วันที่ 27 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่
ถอดความโดย แม่จิ๊บ

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

ทบทวน… Executive Function (EF) ที่ดี เป็นอย่างไร?
ดูแลตนเองได้
เอาตัวรอดได้
 ดูมีอนาคต

advertisements

 ดูแลตนเองได้

เด็กพัฒนาโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการพัฒนา Executive Function (EF) คือ การสอนและฝึกให้เด็กสามารถดูแลตัวเองใน 4 บริเวณหลัก นับจากตัวเองออกสู่รอบๆ ตัวได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยกำกับบอกบท หรือคอยเตือนอยู่ข้างๆ โดย 4 บริเวณที่ว่ามีดังต่อไปนี้

1 ดูแลร่างกายตัวเอง:
เริ่มที่อายุ 2-3 ขวบ ควรดูแลตัวเองได้แล้ว ทานข้าวเอง แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ปัสสาวะ อุจาระได้เอง Executive Function (EF) จึงจะเบ่งบาน #ถ้าทานข้าวได้เอง พัฒนาการทุกอย่างจะตามมาเป็นชุด แต่ถ้ายังคอยป้อนกันอยู่ ก็จะไม่เกิด Executive Function (EF)
(***สำคัญมากถ้าเด็กดูแลตัวเองได้ บริเวณอื่นๆ ต่อไปจะง่ายขึ้นมาก)

2 ดูแลรอบร่างกายออกไป:
เริ่มที่ 3-5 ขวบ เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ เก็บหนังสือเมื่ออ่านเสร็จ เตรียมกระเป๋าไปโรงเรียนเอง ตื่นนอนเองแล้วเก็บที่นอนด้วยตัวเอง เป็นต้น ในบริเวณนี้ก็ยังเป็นการสร้าง Executive Function (EF) ที่ทำเพื่อตัวเองอยู่

3 ดูแลบ้าน:
วัยประถม 6-7 ปีขึ้นไป ควรได้ทำสิ่งที่ต้องทำเพื่อคนอื่น นั่นก็คือ งานบ้าน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ถูโต๊ะ ล้างจาน (Executive Function (EF) ที่ทำให้คนอื่นๆ ในครอบครัว)

เมื่อเด็กกลับมาจากโรงเรียน ลำดับของกิจวัตรประจำวันที่แนะนำคือ

4 ดูแลนอกบ้าน (กฎกติกาสังคม):
คือ พื้นที่ที่ 4 ที่เด็กต้องทำได้ เช่น ทานข้าวนอกบ้านไม่ส่งเสียงดัง รู้จักการเข้าคิวและการรอคอย เป็นต้น

ในวันบรรยายนั้นมีผู้ปกครองถามคำถามที่คำตอบของคุณหมอประเสริฐเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องนี้พอดี

คำถาม “ลูกอายุ 3 ขวบครึ่ง ให้ดูวิดีโอการ์ตูนความรู้จากมือถือบ้าง ให้เล่นเกมจากมือถือบ้าง พ่อสังเกตเห็นว่า ตั้งแต่ให้ลูกเล่นมือถือ ลูกใจร้อน และหงุดหงิดง่าย จึงมีความสงสัยว่าควรจะยื่นมือถือให้ลูกเมื่อไหร่ดี”

นพ. ประเสริฐ “ตามที่สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกา เคยให้มาตรฐานเอาไว้คือ 0-2 ขวบ ห้ามดูจออิเลคทรอนิคส์เลย!! 2-7 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องฝึกเด็กเพื่อพัฒนา Executive Function (EF) ในการดูแลพื้นที่ทั้ง 4 จึงควรฝึกเด็กให้มี Executive Function (EF) ที่ดีก่อนจะยื่นมือถือให้ลูก

ดูแล 4 พื้นที่นี้ได้ดี ช่วยตนเองได้จนถึงทำงานบ้านเพื่อคนอื่นได้

หากเด็กสามารถดูแลทั้ง 4 พื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่ต้องมีการกำกับจากภายนอก ก็พอจะบอกได้ว่าเด็กคนนี้ มี Executive Function (EF) ที่ดีแล้ว สามารถถอนตัวออกมาจากความสนุกที่กำลังดำเนินอยู่ได้เมื่อถึงกำหนดเวลา พ่อกับแม่ก็เบาใจพอจะยื่นมือถือให้เด็กได้ ในทางกลับกัน หากเด็กยังดูแลพื้นที่ทั้ง 4 ไม่ดีพอ การยื่นมือถือให้อาจจะรบกวนการพัฒนา Executive Function (EF)  ของเด็ก

ลูกบริหารเวลางานบ้าน การบ้าน การเล่นได้ เค้าควรบริหารเวลาเล่นเกมได้ด้วยไม่ต้องกลัว IT เพราะยังไงก็ต้องเจอ (หลายๆ ประเทศให้แทบเลตเด็ก ป.1 เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์การเรียน แต่อย่าลืมว่าการเลี้ยงเด็กแบบตะวันตก เด็กคงถูกฝึก Executive Function (EF) มาแล้ว)

 เอาตัวรอดได้ จากสถานะการณ์เสี่ยง

เช่น เป้าหมาย อยากซิ่งมอเตอร์ไซค์ Executive Function (EF) คือขี่มอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย ต้องควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดี

ถ้าแม่มีจริง สายสัมพันธ์กับแม่มีจริงก็จะดึงรั้งสติของลูกไว้ (หน้าแม่ลอยมา/แม่เป็นห่วงน่ะลูก/คำพูดแม่ดึงสติเอาไว้) ให้เอาตัวออกห่างจากสถานะการณ์เสี่ยง

 มีอนาคตที่สร้างได้

Executive Function (EF) ที่ดีอิงกับเรื่องสมอง ตั้งเป้าหมายที่สัมพัทธ์กับสมองของแต่ละคน คือ

ที่มา www.facebook.com/prasertpp/posts/508278659520633