บทความเกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคออกแบบสื่อภาพตัดต่อ Montage

advertisements

Natural History: Fossil
Susan Buck Morss is Professor of Political Philosophy and Social Theory

บทความเกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคออกแบบสื่อภาพตัดต่อ Montage

บทความแปล The Dialectics of Seeing: Walter Benjamin and the Arcades Project

  • หนังสือ The Dialectics of Seeing: Walter Benjamin and the Arcades Project เป็นการพูดถึงบทความของ Walter Benjamin ซึ่งเป็นโปรเจ็คที่เขาเขียนไว้แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตโดย Susan Buck Morss นักปรัชญาการเมืองและนักทฤษฎีทางสังคม
  • Natural History: Fossil เป็นบทความบทหนึ่งจากหนังสือเล่มดังกล่าว
  • Walter Benjamin เป็นหนึ่งในนักคิดในสำนักแฟรงค์เฟริ์ต ซึ่งเป็นสำนักที่รวมตัวกันของนักคิดที่มองเห็นถึงปัญหาในช่วงเวลาเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • มีการขยายตัวของการผลิตสินค้าเพื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก สินค้าถูกทำให้เหมือนกันเพื่อตอบสนองคนที่ต้องการบริโภค คนต้องการความสะดวกสบายสินค้าอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นเกิดวัฒนธรรมบริโภคภายใต้ระบบตลาดทุนนิยมนำประโยชน์และปัญหามากมาย
  • ซึ่งนักคิดในสำนักแฟรงค์เฟริ์ตได้ร่วมกันวิพากษ์ศึกษาหาทางออกให้กับปัญหาและวิกฤตในยุคดังกล่าว โดยใช้หลายศาสตร์มารวมกันและนำเสนอทฤษฎีที่มีความแตกต่างกันไป
  • Walter Benjamin สามารถไตร่ตรองประวัติศาสตร์ที่ล่วงเลยมาแล้วจากสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏ เหตุการณ์ การกระทำ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทั้งหมดได้อธิบายธรรมชาติ ประวัติศาสตร์
  • โดยการนำสิ่งที่เลิกใช้แล้ว ล้าสมัยชิ้นส่วนต่างๆ มาปะติดปะต่อ เพื่อบอกเรื่องราวเปรียบเหมือนการหาที่มาความเป็นไป ของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์จากซาก Fossil
  • ในช่วงที่ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ยังไม่ปรากฏแก่บุคคลอื่นที่ยังไม่มีใครพูดถึงหรือแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนธรรมชาติเหล่านั้นก็ปรากฏออกมาด้วยสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกันประวัติศาสตร์ก็ปรากฏด้วยสัญลักษณ์ธรรมชาติ
  • Benjamin แสดงหลักฐานต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความคิดที่เป็นที่ยอมรับจากเรื่องเล่า นิยาย ตำนาน ปรัมปรา (Myth)โดยใช้วีธีถอดรหัสรูปสัญลักษณ์ต่างๆ และตีความ ให้ความหมายจากวัสดุวัตถุที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ เช่น งานศิลปะ สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
  • Benjamin ใช้เทคนิค Montage ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำส่วนประกอบต่างๆ มาปะติดปะต่อ มาผสมหล่อหลอม เพื่อสืบค้นหาที่มา หาข้อมูล หาบริบทแวดล้อม ในส่วนที่หายไปช่วงระหว่างรอยต่อที่ไม่มีใครพูดถึงข้อเท็จจริง อ้างอิงเรื่องราวในประวัติศาสตร์เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการสร้างความคิด ตีความ หาความหมายใหม่เป็นเทคนิคที่ให้รายละเอียดได้มากกว่าภาพถ่าย
  • การประกอบส่วนต่างๆ จากร่องรอยในธรรมชาติ ประวัติศาสตร์มาไตร่ตรองอย่างละเอียด มากกว่าจะมองภาพรวมที่ถูกใครบางคนสร้างขึ้นมาให้หลงเชื่อ ถูกทำให้เป็นที่ยอมรับทำให้เป็นที่รู้จัก โดยไม่รู้ที่มาที่ไปที่แน่ชัด ชัดเจน ความจริงแท้เป็นเช่นไรไม่มีใครรู้แต่ถูกทำให้เชื่อด้วยประสบการณ์เชิงประจักษ์มากกว่าความคิด ทฤษฎี ข้อเท็จจริง
  • ซึ่งเมื่อศึกษา หารายละเอียดจากร่อยรอยต่างๆ จะพบว่าธรรมชาติประวัติศาสตร์ทั้งหลายไม่มีที่มาที่ไปอย่างแน่ชัด ขัดแย้ง ไม่เป็นเหตุเป็นผลไม่เชื่อมโยง กระโดดไปกระโดดมา ไม่ต่อเนื่อง
  • ชาล์ ดาวิน กล่าวว่าธรรมชาติมนุษย์คือการแข่งขัน ผู้ที่แข็งแรง แข็งแกร่ง เก่งกว่าเหนือกว่าคือผู้ที่อยู่รอด ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวถูกสร้าง ทำให้เชื่อว่าเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ เมื่อไตร่ตรองพิจารณาอย่างละเอียดเป็นเพียงการอ้างสิทธิ ความไม่ยุติธรรมไม่สมเหตุสมผล เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับสนับสนุนทุนนิยมโดยเฉพาะชนชั้นนายทุน
  • ทฤษฏีดังกล่าวยังขัดแย้งกับคำว่า Civilization ซึ่งหมายถึงอารยธรรมอันดีวัฒนธรรมประเพณีความก้าวหน้าของมนุษยชาติ ผู้ที่เจริญแล้ว เพราะทฤษฎีดังกล่าวว่าด้วยการแข่งขันผู้แข็งแรงแข็งแกร่งเก่งกว่าเหนือกว่าอยู่รอดธรรมชาติเป็นผู้เลือก แสดงให้เห็นถึงความไร้อารยธรรม ป่าเถื่อนไม่ต่างอะไรกับสัตว์ขัดแย้งกับคำว่าวิวัฒนาการ ความก้าวหน้าที่บอกว่ามนุษย์พัฒนามาจากสัตว์และมีอารยธรรมอันดีดังที่ได้กล่าวอ้างเอาไว้
  • การโต้แย้งด้วยเหตุผลของคำว่า “idea” of the natural history ปรากฎให้เห็นผ่านงานของ Heartfield ที่เป็นการนำเสนอเทคนิคการนำภาพถ่ายหลายภาพมารวมกันในงานที่ชื่อว่า German Natural History: Metamorphose เป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อต่อต้าน เสียดสี วิจารณ์การเมืองในยุคฮิตเล่อร์ที่พยายามจะสร้างภาพว่าเป็นการวิวัฒนาการความก้าวหน้าทางการเมือง โดยสื่อความหมายผ่านสัญลักษณ์ที่ประกอบไปด้วยภาพวิวัฒนาการการเปลี่ยนรูปจากหนอน เป็นดักแด้ และกลายเป็นผีเสื้อกลางคืนบนต้นไม้ที่ตายแล้ว ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการวิวัฒนาการเจริญเติบโต แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นการก้าวถอยหลังสู่ความตาย สู่หายนะ
  • จากธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ที่เคยกล่าวว่ามนุษย์วิวัฒนาการมาจากสัตว์ แต่ยุคของฮิตเลอร์กลับเป็นยุคที่ก้าวถอยหลังจากคนกลายเป็นสัตว์ป่าเถื่อนโหดร้าย รุนแรง ทำร้ายกันไม่ต่างจากสัตว์ป่า เป็นยุคของชนชั้นกลางที่ถูกครอบงำด้วยระบบทุนนิยม
บทความเกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคออกแบบสื่อภาพตัดต่อ Montage

บทความแปล The Dialectics of Seeing: Walter Benjamin and the Arcades Project Metamorphose

  • Heartfield ยังได้อธิบายถึงงาน German Natural History: Metamorphose ว่าเป็นการอุปมาอุปมัยถึง
    Nature: แทนด้วยภาพสถานะทางธรรมชาติของแมลง
    History: แทนด้วยภาพ Ebert – Hindenberg – Hitler
    Myth: แทนด้วยภาพ ตำนาน นิยายเรื่องเล่า ปรัมปราที่พูดถึงการเปลี่ยนรูปร่างจากพื้นฐานเดิมของมนุษย์จากต้นไม้ สัตว์ หิน อะไรก็ว่ากันไป
  • ทั้ง Nature History Myth ทั้งหลายเมื่อนำมาศึกษา พิจารณาไตร่ตรอง ผสมผสานประกอบส่วนต่างๆ ถอดรหัส หาสัญญะ ตีความผ่านเทคนิค Montage เป็นแค่สิ่งที่สร้างขึ้นมา มีความก้าวหน้า พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นอุดมคติที่ดีแล้ว แท้จริงเป็นเพียงภาพมายาเป็นข้อผิดพลาด เป็นมายาคติสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับระบบทุนนิยม
  • มายาคติที่ถูกสร้างขึ้นด้วยหลักฐานทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ซึ่งเมื่อเข้าไปศึกษาจริงๆ แล้วประวัติศาสตร์ไม่มีความต่อเนื่องมีความขัดแย้ง ไม่มีเหตุมีผล ประวัติศาสตร์ไม่เชื่อมโยงกระโดดไปกระโดดมา เราถูกหลอกให้เชื่อตามประวัติศาสตร์ว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

______

(เนื้อหาต่อไปนี้เป็นตัวอย่างยกมาอธิบายเพิ่มเติมไม่มีในบทความ)

  • ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลวาเลนไทน์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้อยู่ภายใต้อำนาจของทุนนิยมและตกเป็นทาสทางวัฒนธรรมเมื่อสืบค้นหาประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับวันวาเลนไทน์ก็เป็นเรื่องที่คลุมเครือไม่มีประวัติที่แน่นอนได้แต่สันนิษฐานกันไป ไม่มีต้นกำเนิดและความเป็นมาชัดเจน
  • บ้างก็ว่าแต่เดิมเป็นเทศกาลฉลองความเจริญพันธ์ของพวกโรมันโบราณ เป็นการระลึกถึงเทพเจ้าลูเปอร์คุส (เทพเจ้าแห่งความเจริญพันธ์)
  • บ้างก็ว่ากันว่าเซนต์วาเลนไทน์เป็นผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคริสต์ซึ่งถูกประหารในกรุงโรม
  • บ้างก็ว่าเซนต์วาเลนไทน์เป็นนักบุญผู้อุดหนุนคู่รักคอยช่วยเหลือคนที่มีความรักที่ตกอยู่ในความทุกข์
  • จากวันที่ระลึกถึงเซนต์วาเลนไทน์ (ด้วยเหตุใดต้องระลึกก็ไม่รู้แน่ชัด) จนกลายมาเป็นวันแห่งความรักอย่างไม่มีสาเหตุ ที่มาที่ไปอย่างชัดเจนแต่ที่แน่นอนและชัดเจนก็คือเรื่องดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาให้เราหลงเชื่อเพียงเพื่อให้ตกเป็นเหยื่อของทุนนิยมห้างสรรพสินค้า ผู้ผลิตสินค้าต่างๆพยายามสร้างค่านิยม สร้างกระแส กระตุ้นให้หลงไปตามกระแสเพื่อจะขายสินค้า เป็นต้น

______

advertisements
  • บทความเรื่อง The Arcades Project อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคต้นศตวรรษที่ 20 Arcades หมายถึงทางเดินที่มีหลังคาโค้งรายล้อมไปด้วยของขายสองฝั่ง
  • Department store ที่เต็มไปด้วยป้ายสัญลักษณ์ เต็มไปด้วยแสงไฟทุกอย่างเต็มไปด้วยความโกลาหล ความตื่นเต้น ความบันเทิงทุกอย่างเต็มไปด้วยความสับสน ทำให้เราลืมไปว่าเราเป็นใคร
  • เบนจามินใช้อุปมาอุปมัยเรื่อง Arcade Project เหมือนเราเดินเข้าห้างสรรพสินค้าอันนั้นก็อยากได้ อันนี้ก็อยากได้ อันนี้น่าจะมีไว้สักอัน แต่ไม่รู้ว่าจะมีไว้ทำไมอันโน่นก็เอาไว้ก่อนเผื่อใช้
  • ทุกอย่างเร้าประสาทการรับรู้ ทำให้ตื่นเต้นประสาทสัมผัสเปลี่ยนเร็วมากทำให้รู้สึกว่าเราไม่มีจุดยืน ต้องการอะไรเราไม่มีสติ ไม่มีแรงปรารถนาของตัวเองเราถูกขับเคลื่อนโดยแรงปรารถนาของสิ่งอื่นที่รุมเร้าโดยสิ่งต่างๆ ที่รายล้อม
  • ลักษณะทางกายภาพของเมืองปารีส ที่ถูกสร้างภาพว่าเป็นความก้าวหน้า เป็นการวิวัฒนาการอารยธรรมอันดี การพัฒนาของมนุษย์ถูกสร้างให้มีพลังอำนาจดึงดูดให้สวยงามเป็นเมืองศิลปะแฟชั่น ประกอบไปด้วยเทศกาลงานต่างๆ ทัศนียภาพที่สวยงามเมืองโรแมนติก ละลานตาไปด้วยสินค้าใหม่ตื่นตาตื่นใจ แท้จริงเป็นเพียงการสร้างภาพมายาคติให้คนหลงใหลยั่วยวนดึงดูดคนให้ไปเที่ยว ไปจับจ่ายใช้สอย ภายใต้ระบบทุนนิยม
  • จากภาพ 3.4 หน้า 69 เป็นภาพที่สร้างขึ้นเพื่ออ้างอิงประวัติศาสตร์ความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการจากลิงเป็นมนุษย์ที่จะพยายามสร้างภาพให้ดูต่อเนื่องอย่างลื่นไหล แท้จริงเป็นเพียงภาพที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับเรื่องที่จินตนาการขึ้นมาเอง เรื่องที่ลือ เรื่องเล่า ปรัมปราที่ถูกทำให้เชื่อผ่านประสบการณ์โดยปราศจากการคิดไตร่ตรองหรือมีทฤษฎีที่แน่นอนมารองรับไม่มีที่มาที่ไป ที่แน่ชัดมนุษย์ไม่ได้วิวัฒนาการมาจากลิง เอามนุษย์ไปเปรียบกับลิงไม่ได้
  • จากภาพดังกล่าวทำให้ดูเหมือนว่ามนุษย์มีวิวัฒนาการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องจริงๆ แล้ววัฒนธรรมของสังคมที่ตกอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมซึ่งส่วนใหญ่เป็นในลักษณะของการผูกขาดที่ถูกสร้างภาพว่ามีการพัฒนาแต่กลับถดถอยลงอย่างน่าประหลาดใจ

Adorno และ Horkheimer ได้วิพากษ์ยุคทุนนิยมว่าเป็นยุคแห่งความสว่างวาบของภูมิปัญญาที่สร้างความเจริญ แต่ก็ได้ทำลายในตัวมันเองไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะในขณะที่วัฒนธรรมชนชั้นกลางได้เสนอโลกที่ดีกว่าและมีคุณค่าที่ปัจเจกทุกคนสามารถตระหนักรู้ได้จากภายในวัฒนธรรมมวลชน กลับผลิตสภาวะแบบ “เผด็จการ” (totalitarian state) ที่กระทั่งอิสรภาพภายในตัวปัจเจก (inner freedom) ก็ยังถูกทำให้สูญหายไปจนสิ้น

  • เราถูกหลอกโดยมายาคติที่ว่าด้วยความเจริญ สิ่งใหม่ ความทันสมัย สวยงามพรั่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยี ทั้งที่ความจริงแล้วสินค้าสิ่งต่างๆ เป็นเพียงการผลิตซ้ำเป็นเพียงการสร้างภาพให้เราหลงไปกับมัน
  • เราถูกทำให้หลงใหลมากกว่าสนใจประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าการใช้งานของสิ่งนั้นจริงๆ ภาวะการหลงใหลวัตถุนิยมเกิดจากการให้คุณค่าทางสังคมนั้นๆ
  • ในด้านการผลิตเนื่องจากระบบทุนนิยมแบบผูกขาด (Monopoly Capitalism) จึงมีผู้ผลิตน้อยรายแต่ในขณะเดียวกันก็มีผู้บริโภคจำนวนมาก
  • ฉะนั้นประสิทธิภาพของการผลิตจึงอยู่ที่การวางแผนการตลาดการจัดองค์กรในการผลิตรวมทั้งการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้
  • แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นประสิทธิภาพของการผลิตกลับทำได้เพียงการผลิตภายใต้มาตรฐานเดียวกัน (Standardization) สินค้าที่ผลิตออกมาก็มีแต่รูปแบบเดียวกัน (Stereotype)

ความแตกต่างของสินค้าจึงอยู่บนความแตกต่างเชิงปริมาณ (ราคา, จำนวน) หรือความแตกต่างของภาพลักษณ์ หาใช่ความแตกต่างของแก่นแท้ของตัวสินค้า

  • เมื่อการผลิตแบบอุตสาหกรรมทำให้มีสินค้าเป็นจำนวนมากเกินความสามารถในการบริโภคที่วางอยู่บนคุณค่าใช้สอยอันมีข้อจำกัด เช่น ในเรื่องของจำนวนในการบริโภคและระยะเวลา (อายุการใช้งาน)
  • ทางออกทางหนึ่งที่จะทำให้ข้อจำกัดนี้หายไปได้ ก็คือการเปลี่ยนทัศนคติในการบริโภคให้เปลี่ยนจากมูลค่าใช้สอยไปเป็นการตัดสินใจที่วางอยู่บนคุณค่าเชิงสัญญะที่สร้างความหมายให้กับสินค้าและผู้บริโภค
  • สำหรับผลต่อผู้บริโภคนั้น ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer’s need) ต่อตัวสินค้าทางวัฒนธรรมภายใต้กระบวนการอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไม่มีที่สิ้นสุด (no limit)
  • เพราะความต้องการ (need) ได้ถูกกระตุ้น (manipulate) อยู่เรื่อยๆ โดยผ่านสื่อในด้านต่างๆ ความต้องการของผู้บริโภคก็ยิ่งถูกกระตุ้น ถูกควบคุม และถูกจัดการมากขึ้นเป็นเงาตามตัวทั้งนี้ก็เพื่อให้สินค้าได้ถูกบริโภคผ่านกลไกของการแลกเปลี่ยน (The Law of Exchange)
  • โดยที่สินค้านั่นไม่จำเป็นต้องถูกนำไปใช้สอยใดๆ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ก็คือกระบวนการที่เรียกว่า ความนิยมหลงใหลในตัวสินค้า (The Fetishism of Commodity) ผู้บริโภค บริโภค สินค้ากันอย่างมากมาย โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าของการใช้และสิ่งนี้ก็คืออุดมการณ์หลักของการบริโภคในสังคมทุนนิยม”

ผู้บริโภคกลายเป็นนักสะสมมากกว่าที่จะซื้อเพื่อคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง

  • สินค้าต่างๆ ถูกผลิตซ้ำไม่มีอะไรใหม่เหมือนซาก Fossil ที่ล้าสมัย ดึกดำบรรพ์ โบราณ
  • Benjamin วิพากษ์คนสังคมชั้นกลางในยุคทุนนิยมว่ามีความเป็นสัตว์ภายในตัวไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง โง่เขลา เอาแต่หาทางหนีจากอันตรายที่มองไม่เห็นมีจิตใจตกต่ำ เป็นเหยื่อของทุนนิยมด้วยความเขลา ไม่ได้พัฒนาหรือวิวัฒนาการแต่อย่างใด
  • ชนชั้นกลางและยุคอุตสาหกรรมใหม่แสดงให้เห็นจุดจบของการพัฒนาสายพันธ์มนุษย์ที่ถูกชักจูงโดยธรรมชาติของทุนนิยมที่เป็นเพียงการผลิตซ้ำ อยู่ในวังวนของการบริโภคระบบผูกขาดโดยนายทุน วงจรที่ซ้ำไปซ้ำมาของระบบเงินเฟ้อ สภาวะซึมเศร้า การว่างงานผู้คนทั้งหลายตกอยู่ภายใต้อำนาจของความบีบคั้นที่มองไม่เห็นเหล่านี้
  • Benjamin ได้เปรียบเปรยถึงปรากฎการณ์ในสังคมที่ทุกบ้านเต็มไปด้วยสินค้า แฟชั่น ร้านค้า นายทุน เต็มไปด้วยป้ายซึ่งเหมือนกับกรงในสวนสัตว์ที่ขังไว้ด้วยลักษณะของนายทุน
  • เราถูกบอกให้เชื่อว่าหมดยุคของความล้าหลังของไดโนเสาร์แล้วซึ่งจะเกิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วการบริโภคในยุคทุนนิยมก็ไม่ต่างอะไรกับยุคไดโนเสาร์
  • ผู้บริโภคเหมือนสัตว์ที่กินแต่ของเดิมๆ เนื่องจากไม่มีอะไรใหม่เกิดร้านค้าใหญ่ร้านขนาดเล็กไม่สามารถสู้ได้ เพราะร้านใหญ่ๆไม่เอากำไรมากเน้นจำนวนยอดขาย ชนชั้นกลางในยุคนี้ไม่สามารถเลือกสินค้าใหม่ๆ ได้ต้องตามกระแส
  • Benjamin พูดถึง Nature ว่ามี 2 ยุค

1. ยุคแรกคือยุคที่พัฒนามาอย่างช้าๆ ล้านปีที่แล้ว

2. ยุคที่เริ่มตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็น New Nature เป็นยุคที่มีพลังอำนาจที่เรายังไม่รู้ แต่ทำให้เกิดสิ่งเลวร้ายในอนาคต ทำให้เกิดเรื่องสยดสยองเป็นที่ทุกคนกำลังเผชิญกับมัน อาจหมายถึงภาวะโรคร้อน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สภาพอากาศแปรปรวน โรคภัยไข้เจ็บ สภาวะทางจิตใจที่ย่ำแย่ ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม

  • ในอดีตมีความเชื่อว่าตามกฎแล้วธรรมชาติเป็นผู้มีสิทธิ์คัดเลือกตัดสินให้มนุษย์ว่าจะมีโอกาสอยู่นะพื้นที่และแห่งหนใดแต่ปัจจุบันมนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้ที่เลือกให้ธรรมชาติอยู่ปรากฎในตำแหน่งใดๆ
  • เทคโนโลยี สินค้า การผลิตซ้ำของสินค้าอุตสาหกรรมจนเกิดเป็นวัฒนธรรมความเจริญก้าวหน้า ของมนุษย์แท้จริงแล้วเป็นเพียงการสร้างภาพขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยม
  • ความก้าวหน้า ความทันสมัยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทนที่ความจริงบางอย่าง
  • งานเขียนของ Walter Benjamin เป็นการถอดหน้ากากของมายาคติในยุคสมัยที่เกิดขึ้นต้องการให้เห็นเรื่องจริงที่ถูกกดทับด้วยมายาคติของวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์
  • Natural History: Fossil เป็นการศึกษาวิพากษ์วิจารณ์วัฒนธรรมทุนนิยมผ่านหลักฐานร่องรอยทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นส่วนแยกย่อยแล้วนำมาปะติดปะต่อ หาข้อมูลสืบค้นหาช่วงเวลาที่หายไป ผ่านการคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดเปรียบเหมือนเป็นการศึกษาวัฒนธรรม
ทุนนิยมผ่านซาก Fossil

Benjamin สนใจการซ้อนภาพหลายภาพให้เป็นภาพเดียว (montage) โดยการรวบรวมหลักฐานต่างๆ ทั้งหมดอย่างมีเล่ห์เหลี่ยม การเข้ากันไม่ได้ ทำให้เกิดการโต้แย้ง สร้างความหมายและการตีความใหม่

  • การซ้อนภาพที่เกิดจากการรวบรวมหลักฐานต่างๆ ดีกว่าทัศนียภาพทั้งหมดที่ถูกจำกัดด้วยเนื้อหาเป็นความนึกคิดที่สร้างขึ้นมาอย่างปลอมๆ ที่จำลองภาพจากอดีตที่ผ่านมาให้ดูเหมือนว่ามีวิวัฒนาการมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
  • การนำภาพเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มาปะติดปะต่อเป็นการศึกษาหาข้อมูลในช่วงเวลาที่หายไป ช่วงเวลาระหว่างความไม่ต่อเนื่องซึ่งเป็นช่วงเวลาที่น่าค้นหาข้อเท็จจริง
  • จุดมุ่งหมายของ Benjamin ไม่ใช่แค่เพียงวิจารณ์ ธรรมชาติประวัติศาสตร์ ว่าเป็นมายาคติแต่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นอย่างไรภายในค่าที่ตั้งไว้ถูกต้อง ความคิดธรรมชาติและประวัติศาสตร์ แสดงถึงความจริงสมัยใหม่ที่ไม่ถาวรยั่งยืน
  • ในทฤษฏีของสื่อ Montage เป็นปัจจัยสำคัญที่ Benjaminใช้ในการเขียนวิพากษ์วิจารณ์สิ่งต่างๆ โดยผ่านการทำงานหนักของเขา
  • Montage เป็นการปะติดปะต่อของแนวความคิดหลักทำให้เกิดปรากฎการณ์พิเศษ
  • Benjamin สรรเสริญเทคโนโลยีการซ้อนภาพว่าเป็นความก้าวหน้าเพราะเป็นการสอดและแทรกเข้าไปของสิ่งใหม่ ในบริบทเดิม ซึ่งเขาพูดถึงการทำลายรูปแบบเดิมๆ ออกไป
  • Benjamin ใช้เรื่องความสัมพันธ์ของภาพสื่อออกมาในรูปแบบของภาพตัดแปะแทนการพูดหรือการดูเพียงภาพถ่ายแค่ 1 ภาพ
  • เทคนิค Montage เป็นที่สนใจมีศิลปินหลายคนใช้ในการสร้างงานศิลปะ สิ่งก่อสร้างแม้แต่โครงสร้างของหอ Eiffel ก็มีที่มาจากเทคนิคดังกล่าวเป็นการรวมชิ้นส่วนเหล็กจำนวนหลายชิ้นมาปะติดปะต่อ หล่อหลอมรวมกัน สร้างเรื่องราว สร้างมายาคติทำให้มีลักษณะที่โดดเด่น พิเศษ แปลกเป็นเอกลักษณ์

บทความ The Dialectics of Seeing: Walter Benjamin and the Arcades Project แปลโดย จิตตานันท์ ทองทับ