“Blockchain” บล็อกเชนเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

advertisements
Blockchain บล็อกเชนเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ตอนที่ 1

ตามที่ผมเคยเล่าให้ฟังไปแล้วว่าเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้เชิญกูรู และผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเกี่ยวกับ Blockchain เข้ามาพูดคุยให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควรระวังของเทคโนโลยีนี้ เพื่อหาโอกาสและป้องกันโทษที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆ และผมให้ความสนใจกับเรื่องนี้ครับ

ผมจึงได้รบกวนให้คุณศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ Blockchain Evangelist รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เขียนบทความเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับผมและทุกท่าน เนื่องจากเรื่อง Blockchain เป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยรับรู้ในวงกว้าง คนที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งยังมีไม่มาก ผมจึงอยากให้พวกเราได้ร่วมกันเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพื่อใช้ประโยชน์และรู้เท่าทันและป้องกันโทษที่จะเกิดขึ้นกันครับ

**********************

บทความโดยคุณศีลวัต สันติวิสัฎฐ์
Blockchain Evangelist

📰 อธิบายง่ายๆ Centralize vs Decentralize

ห้องนักเรียนมีคนอยู่ 30 คน ถ้าเราจะเลือกตั้งหัวหน้าโดยมีคนเสนอมา 2 คน เราก็จะเอากล่องมาตั้งกลางห้องให้แต่ละคนหย่อนกระดาษเขียนเบอร์ที่ตัวเองเลือก พอหย่อนครบก็ต้องหาตัวแทนมานับคะแนน แบบนี้เรียกว่า centralized หรือรวมศูนย์ ซึ่งเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ต้องอาศัยคนมานับตรงกลาง ซึ่งจะซื่อสัตย์หรือไม่ก็ไม่รู้

เอาใหม่เปลี่ยนวิธีการใหม่ คน 30 คน แต่ละคนจะได้กระดาษคนละ 30 ใบ ทุกคนเขียนชื่อตัวเองลงไปพร้อมกับปั้มลายนิ้วมือกับเบอร์ที่ตัวเองเลือกทั้ง 30 ใบ เขียนเสร็จแล้วให้เอาไปให้คนอีก 29 คน คนละใบและเก็บไว้เอง 1 ใบ ทุกคนแลกกันจนเสร็จ เมื่อเสร็จแล้วแต่ละคนจะมีกระดาษ 30 ใบ แล้วทุกคนก็นับคะแนนจากกระดาษ 30 ใบ ได้มาจากคน 29 คนและของตัวเองอีก 1 ใบ แล้วทุกคนก็ประกาศคะแนนออกมาทีละคนจนครบ 30 คน โดยทฤษฎีถ้าเขียนถูกหมดและนับถูกทุกคน ผลจะต้องเท่ากัน แต่ถ้าเกิดข้อผิดพลาดสามารถเอากระดาษมาตรวจสอบกับอีก 29 คนได้ การดำเนินการแบบนี้เรียกว่าการดำเนินการแบบ decentralize หรือกระจายศูนย์ เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไปก็สามารถเอากระดาษใบเดิมมาเขียนต่อๆ ไปได้ร้อยเรียงกันเป็นลูกโซ่ สามารถสอบเช็คย้อนหลังได้ตลอด

🔗 Blockchain, DLT, Smart Contract

ถ้าเอากระบวนการเลือกตั้งดังกล่าวมาเขียน program และใช้การเข้ารหัสข้อมูลแบบ cryptography ข้อมูลจะถูกร้อยเรียงกันเป็นสายโซ่แล้วเอาชุดข้อมูลนี้ไปเก็บกระจายไว้ในคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องในเครือข่าย ซึ่งจะสอบทานกันได้ตลอดเวลา เทคโนโลยีนี้แหละที่เรียกว่า Blockchain Technology (ข้อมูลร้อยเรียงกันเป็นลูกโซ่) หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) (การเก็บข้อมูลกระจายไว้บนคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย) ทำให้ธุรกรรมใดๆ ที่อยู่บนบนเครือข่ายนี้มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัยสูง และโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ อีกทั้งด้วยการเขียนโปรแกรมกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Smart Contract จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ (business flow) ทั้งในธุรกิจและในภาครัฐได้อย่างมากมาย เทคโนโลยี Blockchain กับ DLT คือตัวเดียวกัน ต่อไปนี้จะเรียกว่า Blockchain

คุณลักษณะอันโดดเด่นที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำไม่ได้ อย่างแรก Tokenization ถ้าเทียบกับการโอนเงินไปต่างประเทศในปัจจุบัน เวลาเราโอนเงินธนาคารจะส่งคำสั่งจากธนาคารหนึ่งไปอีกธนาคารหนึ่งผ่านระบบ Swift หนึ่งขั้นตอน และต้องมีอีกขั้นตอนคือการ settlement เงินผ่านธนาคารตัวแทนที่ทั้ง 2 ธนาคารเปิดไว้ ทำให้เกิดความไม่สะดวก การตรวจสอบย้อนหลังก็ยุ่งยากต้องตรวจทั้งข้อมูลคำสั่งและบัญชีที่ทำการ settlement ด้วย Blockchain กับความสามารถของ Smart Contract ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมให้ทั้งคำสั่งและมูลค่าที่ต้องการส่งไปมัดอยู่ด้วยกันได้ ซึ่งสามารถเอาไปประยุกติใช้ในธุรกิจประเภทต่างๆได้

💰ตัวอย่างแรกคือ เงินสกุลดิจิตอลบนโลกออนไลน์

สกุลแรกคือ Bitcoin ที่ไม่มีหน่วยงานกลางใดจัดการดูแล Bitcoin ใช้เทคโนโลยี Blockchain Bitcoin ถูกคิดค้นขึ้นใน ปี 2551 และสามารถใช้งานได้จริงในปีเดือนมกราคม 2552 ทำงานโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดูแลเงินสกุลดังกล่าวกว่า 1 แสนเครื่อง ภายใต้พื้นฐานเทคโนโลยี “Blockchain” ซึ่งกว่า 8 ปีมาแล้วที่ ธุรกรรม Bitcoin ไม่มีใครสามารถเข้ามาแก้ไขข้อมูลหรือ hack ฐานข้อมูลบน Blockchain ได้ เป็นการพิสูจน์ ชัดเจนถึงความปลอดภัยของฐานข้อมูลบน “Blockchain” และได้พิสูจน์แล้วว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นเวิร์ค แต่ด้วยการที่เปิดกระเป๋า (Crypto Wallet) นั้นไม่มีการผูกตัวตนกับเจ้าของกระเป๋า (KYC Know Your Customer) จึงทำให้ไปใช้ในทางที่ผิดเช่นการฟอกเงิน ทำให้ภาพพจน์ของเทคโนโลยีเสียหายและยังทำให้คุณสมบัติ Tokenization ด่างพร้อยไป ซึ่งถ้ามีการควบคุม KYC อย่างเหมาะสม สามารถไปใช้ประโยชน์ในการทำแลกค่า ซื้อขาย ทำธุรกิจในระดับบุคคลต่อบุคคลโดยไม่ต้องมีตัวกลางได้ (peer-to-peer) ซึ่งเป็นพื้นฐานของ sharing economy ได้

Tokenization กุญแจของการทำ P2P Trading

ตัวอย่างที่ดีมากคือการทำ P2P energy trading platform ขอยกตัวอย่าง Powerledger เป็นโปรเจคในออสเตรเลีย ซึ่งบริษัท BCPG ในเครือของ BCP หรือบางจากปิโตรเลียมได้ทำ MOU ระหว่างกัน ด้วยโจทย์ของโลกที่ว่า พลังงานไฟฟ้าจะเข้าสู่วกฤติในอีกไม่ช้า เพราะโรงไฟฟ้าหลายๆประเภทไม่สามารถสร้างได้ เช่น จากก๊าซและน้ำมันจะหมดโลกในไม่ช้า จากถ่านหินก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบันบางธนาคารในระดับ global bank ได้ออกนโยบายไม่สนับสนุนโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน เพราะทำให้โลกร้อน ซึ่งถ้าร้อนเพิ่มอีก 4 องศาเท่านั้นมนุษยชาติจะสูญสิ้น ส่วนนิวเคลียร์ก็มีแต่คนต่อต้าน เพราะฉนั้นมี renewable energy เท่านั้นที่จะกู้โลกได้ นั่นคือ solar power แต่การทำ solar farm ต้องใช้พิ้นที่ขนาดใหญ่มาก ซึ่งเอาไปเพราะปลูกน่าจะดีกว่า แล้วเอา solar panel ไปติดที่ไหนดีหละ ที่ที่เหมาะที่ทุกบ้านมีก็คือ หลังคาบ้านนั่นเอง แต่ถ้าบางบ้านมีต้นไม้บังหรืออยู่หลังตึก ทำไงจะใหมีการซื้อขายระหว่างกันได้อย่างไร คำตอบนั้นคือ P2P Energy Trading Platform ซึ่งใช้ Utility Token ซึ่งเป็น cryptocurrency ประเภทหนึ่งประกอบกับ smart meter แบบ IoT (internet of thing) ทำให้ ณ ขณะใดขณะหนึ่งสามารถวัดว่าใครซื้อใครขายไฟได้ ซึ่งเมื่อมีการกำหนดโครงสร้างราคาที่เหมาะสมก็จะสามารถใช้ประโยชน์ควบคู่กับ smart contract ไปกับการซื้อขายไฟฟ้า สามารถปันส่วนค่าไฟให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ภาษีให้กับสรรพากร ค่าใช้โครงข่ายของการไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาค ค่าใช้ platform รวมถึงค่าไฟฟ้าสาธารณะได้อีก ทำให้รัฐไม่ต้องเอางบประมาณไปลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าอีกด้วย ในประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีการติด solar cell หรือ solar rooftop บนหลังคาบ้านประชาชนรวมกำลังการผลิตได้เท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรงทีเดียว หากไม่เทคโนโลยี Blockchain กับเทคนิค Tokenization แล้วก็จะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะนี้ได้ และโลกของเราจะร้อนขึ้นจนพวกเราอยู่ไม่ได้

advertisements

Blockchain Blockchain

Blockchain เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ตอนที่ 2
บทความโดยคุณศีลวัต สันติวิสัฎฐ์
Blockchain Evangelist

-Tokenization ทำได้มากกว่า Cryptocurrency

ซึ่งคุณลักษณะ Tokenization ยังสามารถนำไปประยุกติใช้งานประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลเพื่อตอบโจทย์ financial inclusion การขายลิขสิทธิ์ของผลงานการเขียนหรือเพลงโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น Apple Music, Google Play การโอนเงินในต่างประเทศทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วค่าใช้จ่ายถูกลง 10 เท่า เช่น IUPS (IBM Universal Payment System), Ripple การทำ settlement ตราสารต่างๆ

นอกจากนี้ Tokenization นี้ก็เป็นเทคนิคที่ธนาคารกลางต่างๆ ใช้ออก Central Bank Digital Coin (CBDC) ในการทดแทนการโอนเงินระหว่างธนาคารเช่น Bahtnet ได้อีก ซึงมีการทดลองอยู่ในหลายประเทศ Jasper Project โดยธนาคารกลางของคานาดา Ubin Project โดยธนาคารกลางของสิงคโปร์ LionRock Project โดยธนาคารกลางฮ่องกง และ โปรเจคอินทานนท์ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ล้วนใช้เทคนิค Tokenization ทั้งหมด

รวมถึงการนำเอา Tokenization ไปใช้การระดมทุนโดยการใช้ security token ซึ่งสามารถมาทดแทนหลักทรัพย์ในลักษณะเดิมได้ และสามารถระดมทุนจากต่างประเทศได้อย่างง่ายดายผ่าน ICO (Initial Coin Offering) ซึ่งในปัจจุบันมีนักคิดที่มีความสามารถนำเอา technology มาแก้โจทย์โลก แก้โจทย์สังคมอย่างมากมาย แต่เค้าต้องการเงินทุนมาพัฒนา การดำเนินการ ICO นั้นคือคำตอบ ถ้าเราไปควบคุมแบบไม่ให้เกิด ผู้คนเหลาะนั้นก็จะออกไปอยู่นอกประเทศไป เสียโอกาส ประเทศก็เต่าต่อไป สู้ใครเค้าก็ไม่ได้ ดูตัวอย่าง เช่น National Single Window เราตามสิงคโปร์ถึง 20 ปี คนส่งออกก็แบกรับค่าใช้จ่าย ความอืดอาดล่าช้าของหน่วยงานราชการในการออกใบอนุญาตต่อไป

-Cryptocurrency มีหลายประเภท แล้วจะกำกับอย่างไร

เห็นแล้วใช่ไหมว่าหากไม่เข้าใจเทคโนโลยีแล้วไปกำกับด้วยความหวาดกลัว คนที่ออกกฎผิดๆ ถูกๆ ก็คือคนที่ทำลายโลกโดยอ้อม สิ่งที่สับสนวุ่นวายในปัจจุบันคือความไม่เข้าใจถึงประโยชน์ และความกลัว ซึ่งการใช้ธนบัตรในปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะ ไม่ได้ปั้มลายมือทุกครั้งที่จ่ายเงิน แต่ token ทำได้ เราสามารถแบ่งประเภทของ cryptocurrency เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี ทำให้เกิด Thailand 4.0 ได้จริงๆ

การแก้โจทย์เรื่องราคาของ token ผันผวนนั้นสามารถแก้โดยแยกประเภท token ออกให้ชัดเจน ซึ่งปัจจุบันความสับสนคือการเอา function 2 function คือ utility token กับ security token ไปปนกันจนงง เพราะความผันผวนไม่เพียงแต่ทางการที่กำกับไม่ชอบการเก็งกำไรอย่างสุดโต่งแล้ว ผู้บริโภคหากนำไปใช้ประยุกต์การใช้งานก็รับไม่ได้หากราคาผันผวนตลอดเวลา จึงอาจ แยก security token กับ stable utility token ออกให้ชัดเจน และมีการดำเนินการพิสูจน์ตัวตนหรือ KYC พร้อมกับการเก็บภาษีอย่างเหมาะสม ไม่ใช่แบบสุดโต่ง ก็จะเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยีดีๆ ในการพัฒนาประเทศต่อไปได้

คุณสมบัติโดดเด่นของ Smart Contract ทำให้เกิด Thailand 4.0 paperless platform
ด้วยคุณสมบัติ Smart Contract สามารถเขียน Program ทำเป็น Platform ในอุตสาหกรรมต่างๆได้ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อแบบเก่งอย่าง spaghetti ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ยุ่งยากเพราะมีการเชื่อมต่อเป็นคู่ๆ หรือการเชื่อมต่อแบบ switch แบบ PromptPay ก็เป็นตัวอย่างแต่การเชื่อต่อแบบ switch มีข้อเสียคือจะมีคนกลางที่เห็นข้อมูลของทุกคน Blockchain สามารถแก้โจทย์นี้ได้โดยคุณลักษณะอันโดดเด่นที่ปัจจุบันไม่สามารถทำได้ ก็คือการเขียนโปรแกรมให้ควบคุม access control right หรือสิทธิ์ในการเห็นข้อมูล ให้เห็นแต่ข้อมูลที่กำหนดให้เห็น และไม่เห็นข้อมูลของคู่แข่ง จึงสามารถนำไปใช้ในเชิงธุรกิจที่คู่แข่งสามารถมาอยู่บน platform เดียวกันได้ เช่น หนังสือค้ำประกัน ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดที่มีข้อมูลลูกค้าและปริมาณธุรกิจ ซึ่งจะกล่าวต่อไป อีกตัวอย่างคือการป้องกันการ double finance รวมถึงการเอา Bill of Lading มากู้กับธนาคารในธุรกรรม Trade Finance หรือ การเอาทะเบียนรถ ไปกู้เงินที่ต่างๆ

นอกจากนี้ยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นในภาครัฐ ซึ่งโครงการ National Digital ID ก็ใช้ technology Blockchain เช่นเดียวกัน หรือใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็สามารถใช้ได้ ส่วนในทาง Health Care หรือสาธรณะสุขก็สามารถนำไปใช้ในการแชร์ประวัติคนไข้ หรือผลตรวจต่างๆ ระหว่างโรงพยาบาลได้ โดยอาจเริ่มก่อนที่ผลการตรวจเช่น ผลเลือด ผล X-ray หรือ ผล MRI ซึ่ง ในปัจจุบันในโรงพยาบาลใหญ่ๆจะทำ MRI ทีหนึ่งต้องรอเป็นเดือน ซึ่งสามารถส่งผู้ป่วยไป scan ที่โรงพยาบาลอื่นและส่งผลมาบนระบบ Blockchain ซึ่งรับประกันความถูกต้องของข้อมูล และมี tracibility พร้อมเวลา ผู้ดำเนินการแปะเข้ามาบนข้อมูลอย่างครบครัน ซึ่งหากผนวก Tokenization เข้าไปด้วยแล้วจะทำให้การดำเนินการครบทั้งธุรกรรมและ payment

Blockchain

ที่มา https://www.facebook.com/drsuvitpage/

ลิงก์อื่นๆ เกี่ยวกับ บล็อกเชน (Blockchain)

รู้จักบล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีปฏิวัติสังคม