คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

advertisements

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอนที่ 1

วันที่ 27 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่
จัดการ โดย ทพ.วัลลภ ธีรเวชกุล
ถอดความโดย แม่จิ๊บ

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

หากมีคนถามว่า ทำไมเด็กคนหนึ่งถึงไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง? เพราะบันได 7 ขั้น

เด็กที่ได้รับการดูแลจากผู้ปกครองตามบันได 7 ขั้น และทำบันไดในแต่ละขั้นให้สมบูรณ์ ย่อมมีโอกาสจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า

บันได 7 ขั้น มีดังนี้

1. 0-1 ขวบ แม่มีจริง Object Constancy:

ในช่วง 1 ขวบแรกของชีวิต แม่มอบความรัก อุ้มมาก ดูแลมากพอ แม่ก็จะมีจริง ประทับลงลึกถึงจิตใต้สำนึกของเด็ก แม้เมื่อเด็กโตขึ้น และแม่ไม่อยู่ด้วยกัน แต่แม่ก็ยังมีจริงในใจเสมอ

2. 1-3 ขวบ สายสัมพันธ์ Attachment:

1-3 ปีแรกของชีวิต ลูกจะยังไม่แยกตัวออกจากแม่โดยสมบูรณ์ เป็นช่วงเวลาที่จะพัฒนาสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่สื่อด้วยใจ ผ่านการเลี้ยงดู ให้เวลาดูแล กอดหอม อุ้ม เล่น มากพอ เด็กก็พร้อมที่จะสร้างตัวตนของตัวเองขึ้นมา เมื่ออายุ 2 ½ – 3 ขวบ จะเกิดกระบวนการแยกตัวเป็นบุคคลอิสระจากแม่ (ดังนั้น การแยกกับแม่ก่อน 3 ขวบ ทำให้เกิดแผลทางใจ)

3. 3 ขวบ ตัวตน Self:

เข้าสู่ขวบปีที่ 3 เด็กจะแยกออกจากแม่โดยสมบูรณ์ แต่มีสายสัมพันธ์ที่สร้างไว้ในขั้นที่ 2 ผูกโยงจิตใจไว้ เป็นวัยที่เริ่ม “หนูทำได้ และหนูจะทำเอง” คือ autonomy & initiation ส่งเสริมขั้นนี้ด้วยการ ปล่อยให้ทำเอง ลองผิดลองถูกและเฝ้าดู

4. 3- 5 ขวบ เซลฟ์เอสตีม Self-Esteem:

ช่วง 3-5 ขวบ เด็กปีนบันไดทีละขั้น ทีละขั้น แล้วจะทำสำเร็จครบทุกขั้น งานบางอย่างจึงอาจต้องซอยงานให้ละเอียด เพื่อให้เด็กเข้าใจและทำสำเร็จได้ทีละขั้น เช่น ถูบ้าน ต้องเริ่มจากขั้นแรก เปิดน้ำใส่ถัง ไม้จุ่มน้ำ ถูลงพื้น ล้างไม้ บิดตาก ทำให้สำเร็จเป็นขั้นๆ สะสมความสำเร็จในสิ่งที่ตัวเองทำทุกวัน และได้รับความชื่นชมที่การกระทำที่สำเร็จนั้นทุกๆ วัน จนเกิดเป็น self-esteem ปริมาณเวลาที่เราได้อยู่กับลูกสำคัญกว่าคุณภาพ เพราะเราจะมีเวลามากขึ้น มองเห็นลูกชัดขึ้น ใจเย็นขึ้น รำคาญลูกยากขึ้น ชื่นชมลูกง่ายขึ้น

5. 5– 6 ขวบ ควบคุมตนเอง Self Control:

3-6 ขวบ มีความสามารถทำงาน หรือกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบหรืออาจจะไม่ชื่นชอบจนสำเร็จ โดยไม่ถูกชักจูงไปทำอย่างอื่นจากสิ่งยั่วยุที่เข้ามา

6. 2-7 ขวบ Executive Function (EF):

เป็นบันไดที่สำคัญที่ควรสร้างให้ได้ ภายใน 7 ปีแรก ของชีวิต (เริ่มได้ตั้งแต่ 2-3 ขวบ) เพราะเด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้มี Executive Function (EF) ที่ดี จะมีโอกาสที่จะประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตได้

**** Executive Function (EF) คืออะไร?

  • EF คือ ความสามารถระดับสูงของสมอง ที่ใช้ในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย โดยที่เป้าหมายนั้นๆ ตั้งอยู่บนขีดจำกัดความสามารถของสมองแต่ละบุคคล ไม่เท่ากัน เป้าหมายของเด็กปกติกับเป้าหมายของเด็กพิเศษย่อมแตกต่างกัน ขอเพียงคุณพ่อ คุณแม่เปิดใจกว้างยอมรับและเข้าใจในสิ่งที่ลูกเป็น เชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนพัฒนา Executive Function (EF) ได้ ในลู่วิ่งของตนเอง ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตได้ทุกคน ตามศักยภาพของตนเอง
  • Executive Function (EF) ที่ดี ประกอบไปด้วย
    😀 ดูแลตนเองได้
    😀 เอาตัวรอดได้
    😀 มีอนาคต

7. 7-21 ปี ทักษะศตวรรษที่ 21 (21st CSK):

เมื่อเด็กผ่านบันไดทั้ง 6 ขั้น ใน 7 ปีแรก มี Executive Function (EF) มี self-esteem ก็พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นบันไดขั้นต่อไป เพื่อให้เด็กสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากยุคของพ่อแม่โดยสิ้นเชิง

หมายเหตุ: ตัวเลขอายุเหลื่อมกันได้ แบ่งเป็นชั้นเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในความเป็นจริงพัฒนาการทุกด้านเกิดตามลำดับในเวลาไล่เลี่ยกันแล้วเดินหน้าพร้อมกันด้วยความเร็วและความเร่งต่างกัน

ที่มา www.facebook.com/prasertpp/posts/507873126227853

_________

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดย หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ตอนที่ 2

วันที่ 27 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมฮอลิเดย์การ์เดนท์แอนด์รีสอร์ท จ.เชียงใหม่
ถอดความโดย แม่จิ๊บ

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

คู่มือเลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วย Executive Function (EF) โดยหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

ทบทวน… Executive Function (EF) ที่ดี เป็นอย่างไร?
😀 ดูแลตนเองได้
😀 เอาตัวรอดได้
😀 ดูมีอนาคต

advertisements

😀 ดูแลตนเองได้

เด็กพัฒนาโดยเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการพัฒนา Executive Function (EF) คือ การสอนและฝึกให้เด็กสามารถดูแลตัวเองใน 4 บริเวณหลัก นับจากตัวเองออกสู่รอบๆ ตัวได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องมีใครมาคอยกำกับบอกบท หรือคอยเตือนอยู่ข้างๆ โดย 4 บริเวณที่ว่ามีดังต่อไปนี้

1 🏃 ดูแลร่างกายตัวเอง:
เริ่มที่อายุ 2-3 ขวบ ควรดูแลตัวเองได้แล้ว ทานข้าวเอง แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ปัสสาวะ อุจาระได้เอง Executive Function (EF) จึงจะเบ่งบาน #ถ้าทานข้าวได้เอง พัฒนาการทุกอย่างจะตามมาเป็นชุด แต่ถ้ายังคอยป้อนกันอยู่ ก็จะไม่เกิด Executive Function (EF)
(***สำคัญมากถ้าเด็กดูแลตัวเองได้ บริเวณอื่นๆ ต่อไปจะง่ายขึ้นมาก)

2 🎒 ดูแลรอบร่างกายออกไป:
เริ่มที่ 3-5 ขวบ เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ เก็บหนังสือเมื่ออ่านเสร็จ เตรียมกระเป๋าไปโรงเรียนเอง ตื่นนอนเองแล้วเก็บที่นอนด้วยตัวเอง เป็นต้น ในบริเวณนี้ก็ยังเป็นการสร้าง Executive Function (EF) ที่ทำเพื่อตัวเองอยู่

3 🏠 ดูแลบ้าน:
วัยประถม 6-7 ปีขึ้นไป ควรได้ทำสิ่งที่ต้องทำเพื่อคนอื่น นั่นก็คือ งานบ้าน เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ถูโต๊ะ ล้างจาน (Executive Function (EF) ที่ทำให้คนอื่นๆ ในครอบครัว)

เมื่อเด็กกลับมาจากโรงเรียน ลำดับของกิจวัตรประจำวันที่แนะนำคือ

  • 3.1 งานบ้าน ต้องทำเป็นอย่างแรก เพื่อให้เด็กนึกถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว
  • 3.2 การบ้าน (หากบ้านไหนเด็กไม่มีการบ้านจากโรงเรียนก็อาจใช้ แบบฝึกเสริมอย่างอื่นแทน หรือซ้อมกีฬา ดนตรี เป็นต้น) 2 อย่างนี้ (งานบ้าน+การบ้าน) ควรทำก่อนเล่น เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และยอมลำบากก่อน เพื่อสบายทีหลัง
  • 3.3 เล่น ผ่อนคลาย ได้รางวัลหลังจากที่ยอมฝืนทำในสิ่งที่ตนไม่สนุกมาก่อนแล้วจนเสร็จ
  • 3.4 อ่านนิทานก่อนนอน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ พ่อ แม่ ลูก และ ลดกิจกรรมที่ตื่นเต้น เพื่อเตรียมส่งลูกเข้านอนเด็กส่วนใหญ่ กลับถึงบ้านประมาณ 17:30 น. จะมีช่วงเวลาให้ทำ 4 ข้อ นี้ ตั้งแต่ 18.00-21.00 น. รวม 3 ชั่วโมง เด็กจะจัดการบริหารเวลาอย่างไรให้สามารถทำงานบ้าน + การบ้านเสร็จอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้ไปเล่นนานๆ การที่ต้องบริหารเวลาด้วยตัวเอง นั่นคือการฝึก Executive Function (EF) (พ่อแม่กรุณาอย่าคอยบอกบท) ซึ่งวัย 2-8 ขวบ เป็นช่วงที่เค้าต้องบริหารเวลาเป็น จะทำให้เด็กเข้าใจเรื่องมิติของเวลา (space&time) ผ่านการลงมือทำจริงในชีวิตประจำวัน

4 🏫🏨 ดูแลนอกบ้าน (กฎกติกาสังคม):
คือ พื้นที่ที่ 4 ที่เด็กต้องทำได้ เช่น ทานข้าวนอกบ้านไม่ส่งเสียงดัง รู้จักการเข้าคิวและการรอคอย เป็นต้น

ในวันบรรยายนั้นมีผู้ปกครองถามคำถามที่คำตอบของคุณหมอประเสริฐเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องนี้พอดี

คำถาม “ลูกอายุ 3 ขวบครึ่ง ให้ดูวิดีโอการ์ตูนความรู้จากมือถือบ้าง ให้เล่นเกมจากมือถือบ้าง พ่อสังเกตเห็นว่า ตั้งแต่ให้ลูกเล่นมือถือ ลูกใจร้อน และหงุดหงิดง่าย จึงมีความสงสัยว่าควรจะยื่นมือถือให้ลูกเมื่อไหร่ดี”

นพ. ประเสริฐ “ตามที่สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐอเมริกา เคยให้มาตรฐานเอาไว้คือ 0-2 ขวบ ห้ามดูจออิเลคทรอนิคส์เลย!! 2-7 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ต้องฝึกเด็กเพื่อพัฒนา Executive Function (EF) ในการดูแลพื้นที่ทั้ง 4 จึงควรฝึกเด็กให้มี Executive Function (EF) ที่ดีก่อนจะยื่นมือถือให้ลูก

ดูแล 4 พื้นที่นี้ได้ดี ช่วยตนเองได้จนถึงทำงานบ้านเพื่อคนอื่นได้

หากเด็กสามารถดูแลทั้ง 4 พื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่ต้องมีการกำกับจากภายนอก ก็พอจะบอกได้ว่าเด็กคนนี้ มี Executive Function (EF) ที่ดีแล้ว สามารถถอนตัวออกมาจากความสนุกที่กำลังดำเนินอยู่ได้เมื่อถึงกำหนดเวลา พ่อกับแม่ก็เบาใจพอจะยื่นมือถือให้เด็กได้ ในทางกลับกัน หากเด็กยังดูแลพื้นที่ทั้ง 4 ไม่ดีพอ การยื่นมือถือให้อาจจะรบกวนการพัฒนา Executive Function (EF)  ของเด็ก

ลูกบริหารเวลางานบ้าน การบ้าน การเล่นได้ เค้าควรบริหารเวลาเล่นเกมได้ด้วยไม่ต้องกลัว IT เพราะยังไงก็ต้องเจอ (หลายๆ ประเทศให้แทบเลตเด็ก ป.1 เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์การเรียน แต่อย่าลืมว่าการเลี้ยงเด็กแบบตะวันตก เด็กคงถูกฝึก Executive Function (EF) มาแล้ว)

😀 เอาตัวรอดได้ จากสถานะการณ์เสี่ยง

เช่น เป้าหมาย อยากซิ่งมอเตอร์ไซค์ Executive Function (EF) คือขี่มอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย ต้องควบคุมความคิด อารมณ์ การกระทำที่ดี

ถ้าแม่มีจริง สายสัมพันธ์กับแม่มีจริงก็จะดึงรั้งสติของลูกไว้ (หน้าแม่ลอยมา/แม่เป็นห่วงน่ะลูก/คำพูดแม่ดึงสติเอาไว้) ให้เอาตัวออกห่างจากสถานะการณ์เสี่ยง

😀 มีอนาคตที่สร้างได้

Executive Function (EF) ที่ดีอิงกับเรื่องสมอง ตั้งเป้าหมายที่สัมพัทธ์กับสมองของแต่ละคน คือ

  • มองไปข้างหน้า มีแรงจูงใจ มีความมุ่งมั่น ความหลงใหล passion เรียนตามความชอบ บ้านเราเรียนตามความหลงใหลไม่ได้ (รัฐสวัสดิการไม่ดีพอ เรียนบางอย่างเรียนจบออกมาไม่มีงานทำ) ก็ควรประยุกต์เอาตามแต่ละครอบครัว
  • วางแผน
  • ลงมือทำ
  • รับผิดชอบ
  • ยืดหยุ่น ปรับเป้าหมาย ปรับแผนได้ตลอดเวลา ไม่โทษตัวเอง ไม่โทษผู้อื่น

ที่มา www.facebook.com/prasertpp/posts/508278659520633